วัดหน้าพระธาตุ
9 กรกฎาคม 2560

วัดหน้าพระธาตุ 
     ตั้งอยู่บริเวณบ้านพระนอนจักรสีห์ ต.จักร์สีห์ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี 
แต่เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ ว่า วัดหัวเมือง หรือ วัดศรีษะเมือง ต่อมา ในสมัย
รัชกาลที่ ๔ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐาน ว่า สถานที่
บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห์บุรีเก่า และ เชื่อกันว่า เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริม
ลำน้ำจักรสีห์ บริเวณเมืองสิงห์เก่า ตัววัดตั้งอยู่บนลานดินยกพื้นสูง

      มีแผนผังเป็นรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ ๔๓X๑๑๖ ล้อมรอบด้วย
กำแพงแก้ว สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ๘ วา ทำเป็น
รูปครุฑยุดนาคขนาบด้วยอสูรถือกระบองชั้นอัสดง ประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร 
ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้นราวพุทธ
ศตวรรษที่ ๒๑ สังเกตได้จากรูปปั้นครุฑและอสูรที่ถือกระบอง โดยการก่ออิฐ
เพิ่มเติมเป็นซุ้มจระนำทั้งสี่ด้านตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่ออิฐย่อมุมทรงปรางค์ 
กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง 
ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงหลายองค์

      เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ศาลาโถง 
เตาเผาอิฐ และโรงผสมปูน ตั้งอยู่ภายในอีกหลายแห่ง จากการดำเนินงาน
ศึกษาทางด้านโบราณคดี สันนิฐานว่า น่าจะเริ่มก่อสร้างในช่วงก่อนสมัย
อยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ แล้วมีการเปลี่ยนแปลงระเบียบแผน
ผัง ขนาด และรูปแบบศิลปกรรมของวัดหลายครั้งมาโดยตลอด จนถึงสมัย
อยุธยาตอนกลาง ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ จึงได้ละทิ้งไป อันเนื่องมาจาก
เกิดสงครามบริเวณพื้นที่นี้หลายครั้งในช่วงระยะเวลานั้น 

      กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม 
พ.ศ.๒๔๗๘ และในปี พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๓ รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ
เพื่อดำเนินการขุดแต่งและบูรณะปรับปรุงสภาพแวดล้อมวัดหน้าพระธาตุ เพื่อ
เป็นการอนุรักษ์และสงเสริมซึ่งโบราณวัตถุสถานอันเป็นมรดกทางศิลป
วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป

/data/content/137/cms/adjklqwz1267.jpg

/data/content/137/cms/aefiprty2358.jpg
/data/content/137/cms/bcefgjmqtu25.jpg


/data/content/137/cms/fhklpruw2367.jpg





Wat Na Phrathat
    This monastery is situated in Plap Village,Chaksi sub-district
about 500 meters westward from Wat PhranonChaksi,
previously called by villagers “Wat Huamueang”,this area is
presumed to be the old site of old Mueang Sing City.

   The most distinctivestructure of thistemple is Phra Prang 
(Khmer-style corn shapedstupa) approximately 16 meters
high on lateritic foundation, its architectural style reflects that
of theearly Ayutthaya Age whichwas also bigvihara and
main temple.










"ข้อความที่ปรากฏบนศิลาอ่อน"
    วัดหน้าพระธาตุ เดิมชื่อว่า วัดหัวเมืองหรือวัดศีรษะเมืองโบราณสถานที่
สำคัญในวัด
คือ พระปรางค์ ซึ่งมีลักษณะศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น
ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่มักนิยม
ทำรูปครุฑและอสูรถือกระบองประดับ
อยู่เหนือชั้นเชิงบาตร การสร้างปรางค์เป็นคติที่สืบทอดมาจาก
วัฒนธรรม
เขมร แต่มีวิวัฒนาการให้มีรูปทรงที่สูงเพรียวขึ้นทั้งส่วนฐานเรือนธาตุ
และยอดปรางค์ 

Wat na Phra Thai
      Formerly Known as wat hua muang or wat sisaMuang.Important 
Features include a
prang,Reminiscent of carly Ayutthaya apt.It was 
popular then to becorate Thestructure
 with images of garudas and 
asuras carryingtruncheons.The construction of the prang 
owes 
mutch tothe khmer culture,although the base, the body and the top
of the prang
were once greater in height.

วัดหน้าพระธาตุ เดิมชื่อว่า วัดหัวเมืองหรือวัดศีรษะเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัด
คือ พระปรางค์ ซึ่งมีลักษณะศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ที่มักนิยม
ทำรูปครุฑและอสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร การสร้างปรางค์เป็นคติที่สืบทอดมาจาก
วัฒนธรรมเขมร แต่มีวิวัฒนาการให้มีรูปทรงที่สูงเพรียวขึ้นทั้งส่วนฐานเรือนธาตุ และยอดปรางค์ 
Wat na Phra Thai
Formerly Known as wat hua muang or wat sisa Muang.Important Features include a
prang,Reminiscent of carly Ayutthaya apt.It was popular then to becorate The structure
 with images of garudas and asuras carrying truncheons.The construction of the prang 
owes mutch to the khmer culture,although the base, the body and the top of the prang
were once greater in height.

 

/data/content/137/cms/chklnqx13679.jpg