แหล่งโบราณคดี เตาเผาแม่น้ำน้อย
6 กรกฎาคม 2560

    เตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ บ้านโคกหมอ ตำบลเชิงกลัด 
อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีสันนิษฐานว่าเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนต้น ระหว่าง พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๒๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ยก
ทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือที่อยู่ในความปกครองของสุโขทัย โดยกวาด
ต้อนผู้คนซึ่งอาจมีช่างเตาเผารวมอยู่ด้วย และได้มารวมกลุ่มกันบริเวณ
แม่น้ำน้อย

      อีกแนวทางหนึ่งจากหลักฐานเอกสารจีน โดย ดร.สืบแสง พรหมบุญ 
ศึกษาวิเคราะห์กรณีเจ้านครอินทร์ เมื่อครั้งเป็นอุปราชเมืองสุพรรณ ได้เป็น
ทูตไปเมืองจีน จักรพรรดิจีนได้อนุญาตให้นำช่างปั้นหม้อจีนมาเมืองไทยได้ 
จึงทำให้มีอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้น เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิต ได้
แก่ ไหสี่หู ครก ขวด หรือแจกัน ท่อประปา และชิ้นส่วนเครื่องประกอบ
อาคาร

      ลักษณะทั่วไป เป็นเตาเผาที่มีขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐมีลักษณะเป็นเรือ
ประทุนจึงเรียกว่า เตาประทุน ระบายความร้อนเฉียงสภาพที่ขุดและตกแต่ง
โดยกรมศิลปากรจะเห็นการพังทลายส่วนที่เป็นประทุนยุบลงมา แต่ก็ยัง
พอจะเห็นร่องรอยที่ขุดโดยตกแต่งแล้วมีประมาณ ๙ เตา กรมศิลปากร
ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๐๙

     ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อย เป็น
อาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันสองหลักหลังแรกอาคารโปร่งโล่งคลุมเตา
เผาไว้ ๔ เตา โดยยกพื้นโดยรอบตัวเตาเผาเพื่อที่ผู้ชมสามารถชมตัวเตา
เผาได้โดยรอบ บริเวณทางเดินมีนิทรรศการที่ให้ข้อมูลโดยสังเขปของ
แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อาคารหลังที่
สองแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อยและตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผา
จำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้ อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ใดสนใจชมเครื่องปั้นดิน
เผาจากแหล่งนี้เพิ่มเติม สามารถขอชมของที่เก็บไว้ในกุฏิของท่าน
เจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ได้เช่นกัน

     ผลิตภัณฑ์จากเตาเผาแม่น้ำน้อย ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นไห
สี่หู ครก โอ่ง อ่าง กระปุกใส่ปูน ขวด ปากแตรรูปทรงสูง หวดฝา เครื่อง
ประกอบ สถาปัตยกรรม กระเบื้องปูพื้น ประติมากรรมลอยตัวกระสุนดินเผา
ขนาดต่างๆ ที่เป็นการผลิตแบบสั่งทำ เพื่อใช้ในเขตพระราชฐานหรือ
สถานที่สำคัญที่พบได้แก่พระราชวังโบราณพระนครศรีอยุธยา และ
นารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นต้น

          พื้นที่เตาเผาโบราณ ได้สร้างอาคารครอบคลุมให้นักท่องเที่ยวได้เดินชม

/data/content/135/cms/cdiqrsvz6789.jpg

                             อาคารแสดงแหล่งเรียนรู้
 
/data/content/135/cms/acehkmnoqt34.jpg

                      นักมัคคุเทศน์น้อย คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว

/data/content/135/cms/cdkopuvxy489.jpg

 

         ตู้แสดงโชว์วัตถุโบราณที่ค้นพบในบริเวณพื้นที่เตาเผาแม่น้ำน้อย

/data/content/135/cms/cdfgjopqtxz7.jpg

                          ป้ายแสดงความรู้เกี่ยวกับสถานที่

/data/content/135/cms/denpqrsux249.jpg

                             ภาพแสดงกระบวนการผลิต

/data/content/135/cms/bghnqrtwyz23.jpg

                              ตู้โชว์แสดงวัตถุโบราณ

/data/content/135/cms/abdgkwxz2679.jpg

                           พื้นที่ร่มรืน จัดเป็นสัดส่วน

/data/content/135/cms/ciklmpvwx278.jpg

             การจัดแสดง แหล่งเรียนรู้
      แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่
สำคัญมากและมีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ การค้าสำเภอสมัย
อยุธยาเหตุที่กล่าวเช่นนี้ เพราะว่าแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยนี้ มีหลัก
ฐานและร่องรอยกิจการอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ครอบคลุม
พื้นที่กว้างราว ๒ ตารางกิโลเมตร หรือ หนึ่งพันไร่ 

     และผลจากการขุดศึกษา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ พบว่าเตาเผา
ที่ใช้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาในแหล่ง เตาแห่งนี้เป็นเตาที่มีขนาดใหญ่
ที่สุด เท่าที่เคยสำรวจพบในประเทศไทย และจากรายงานการสำรวจ
ขุดค้นแหล่งเรือสำเภอที่จมอยู่ในอ่าวไทยและในต่างประเทศ พบว่า 
มีภาชนะดินเผาประเภทไหและเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่างๆ ที่
ผลิตจากแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยอยู่ในเรือจำนวนมาก 

      นอกจากนี้ยังมีการผลิตท่อน้ำดินเผา สำหรับใช้ในกิจการ
ประปาหลวงในเขตพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์ลพบุรี พระที่นั่ง
บรรยงค์รัตนาสน์ และหมู่พระที่นั่งในเขตพระราชวังหลวง พระนคร
ศรีอยุธยาสมัยพระเพทราชา และสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้ใช้
กระเบื้องปูพื้นภายในวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งผลิตจากเตาเผา
แม่น้ำน้อยอีกด้ว
      เตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่
ที่สุดในสมัยกรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ.๑๙๑๔ - ๒๓๑๐ ผลิตภัณฑ์ที่
พบมาก คือ ไหสี่หู อ่าง ครก กระปุก ขวด ช่อฟ้า กระเบื้องปูพื้น กาน้ำ 
กระสุนปืนใหญ่ท่อน้ำดินเผา ประติมากรรมลอยตัวรูปเฉียงขึ้นก่อด้วย
อิฐยาว ๑๔ เมตร กว้าง ๕.๖ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของปล่อง
ควันไฟยาว ๒.๑๕ เมตร ตัวเตาคล้ายเรือประทุน จึงเรียกว่า
"เตาประทุน" แบ่งเป็น ๓ ส่วนคือ

     - ตอนหน้า เป็นห้องเผาเชื้อเพลิงหรือห้องไฟอยู่ระดับต่ำที่สุด
ด้านหน้าเตามีช่องใส่ไฟที่เป็นทางเข้าสำหรับลำเลียงภาชนะเข้าเตา
เผาและลำเลียงภาชนะที่เผาสุกแล้วออกจากเตา

      - ตอนกลาง เป็นห้องวางภาชนะมีกำแพงกั้นไฟสูงถมพื้นยกสูง
ขึ้นเริ่มจากขอบกำแพงกั้นไฟค่อยๆลาดเอียงขึ้นสู่ปล่องระบายควันไฟ
ในมุมเงย ราว ๑๕ องศา ห้องวางภาชนะมีพื้นที่ราว ๓/๔ ของความ
ยาวเตาทั้งหมด หลังคาเตาก่ออิฐเป็นวงโค้งสันนิษฐานว่าจะสามารถ
จุผลิตภัณฑ์ได้คราวละไม่น้อยกว่า ๘๐๐ - ๑,๐๐๐  ชิ้น

        - ตอนหลัง  เป็นปล่องระบายควันไฟมีแผนผังรูปไข่ความยาว 
ประมาณ ๒.๗๐ เมตร กว้าง ๒.๑๕ เมตร ก่อด้วยอิฐเรียงซ้อนกัน

     เตาเผาแม่น้ำน้อยมาจากไหน ? 
     เมื่อพิจารณาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะสรุปได้ว่า แหล่ง
อุตสาหกรมเตาเผาแม่น้ำน้อยมาจาก ๓ ทางด้วยกัน คือ 

      ๑.เป็นกลุ่มช่างปั้นดินเผาที่อพยพมาจาก สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
เพื่อหาแหล่งทำมาหากินใหม่ ได้มาพบแหล่งดินเหนียวที่มีคคุณสมบัติ
มีไม้ฟืน มีพืชพันธุ์สมบูรณ์การคมนาคมสะดวก จึงเลือกเป็นถิ่นฐาน
เปิดกิจการสร้างแหล่งอุตสาหกรรมขึ้น 

      ๒.เป็นกลุ่มช่างปั้นดินเผาที่ถูกกวาดต้อนจากการทำสงคราม ระหว่าง
สมัยกรุงศรีอยุธยากับกลุ่มหัวเมืองเหนือ (กลุ่มอาณาจักรสุโขทัย) มาตั้ง
ถิ่นฐานเปิดกิจการ

      ๓.เป็นกลุ่มช่างปั้นดินเผาที่ติดตามเจ้านครอินทร์มาจากเมืองจีน 
เมื่อค้นพบวัตถุดิบและแหล่งทำมาหากินที่ดี ก็ทำการผลิตเป็นอุตสาหกรรม
เครื่องปั้นดินเผาในบริเวณนี้ จากการสันนิษฐานอาจเป็นช่างกลุ่มใดกลุ่ม
หนึ่ง หรือ อาจจะเป็นไปได้ว่าทั้งหมดอพยพ มาอยู่รวมกัน เพราะจาก
การค้นพบ มีเตาเผาจำนวนมากอยู่ในบริเวณนี้ กว่า ๒๐๐ เตา 

       สามารถเข้าชมได้ทุกว้น ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๖.๓๐ น.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี ฝ่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวและ
การกีฬา โทร ๐-๓๖๕๒-๐๐๓๐ 

      

/data/content/135/cms/bcekmprt3578.jpg /data/content/135/cms/cdehikmotx12.jpg

แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย 

         บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ที่สุด
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีการผลิตระหว่างประมาณปี พ.ศ.๑๙๐๐
- พ.ศ.๒๓๑๐ 
(ค.ศ.๑๔๗๕-๑๗๖๗) ผลิตเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ภาชนะ
สำหรับบรรจุสินค้า ชิ้นส่วน
ทางสถาปัตยกรรมและอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจการราช
สำนักและเป็นสินค้าเพื่อจำหน่าย ทั้งภายใน
ประเทศและต่างประเทศ 
        นับเป็นส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดความเจริญด้านการค้า ในสมัย

กรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างยิ่ง แหล่งเตาเผามีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒ ตาราง
กิโลเมตร คาดว่า
มีเตาเผานับร้อยเตา ปัจจุบันจากการปรับพื้นที่เปลี่ยนสภาพ 
เพื่อพัฒนาระบบชลประทาน 
ถนน โรงเรียนโรงพยาบาล ทำให้คงเหลือแหล่ง
เตาเผา เพียง ๕ เตา เนื้อที่ประมาณ
๒ ไร่ กรมศิลปากรได้มาสำรวจขุดค้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ ปัจจุบัน อยู่ในความดูแล
ขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดสิงห์บุรี 

       Mae Nam Noi Kiln Site was the largest source during
Ayutthaya Period. The pottery was produced around 1900-2310
B.E.(1457-1767 A.D.) The products 
included utencils in daily life,
containers for 
goods,architectural items and others for using
in royal affairs and trading in both domestic and 
international
markets. 

       The kiln site itself played an important role to promote
Ayuthaya's prosperity 
in trading affairs.The production paused
and finally stopped because of the war in the ending period 
of
Ayuthaya. The kiln site covered about 2 square kilometre.
       It is assumed that that there were hundreds 
of kilns. Due
to the land transform and the adjustment of the area to
construct the irrigation system,
roads,schools and hospitals,
the kilns were destroyed,so there are only 5 kilns left on the
area of 3,200 
square metre.The Fine Arts Department has
excavated the site since 2531 B.E. (1988 A.D.).The 
Provincial
Authority of Singburi is responsible for the kiln site at moment.



/data/content/135/cms/cegntu235679.jpg

ข้อมูล อบจ.สิงห์บุรี 

เตาเผาแม่น้ำน้อย ตั้งอยู่ที่วัดพระปรางค์ บ้านโคกหมอ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ระหว่าง พ.ศ.๑๙๑๔-๑๙๒๑ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ยกทับไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือที่อยู่ในความปกครองของสุโขทัย โดยกวาดต้อนผู้คนซึ่งอาจมีช่างเตาเผารวมอยู่ด้วย และได้มารวมกลุ่มกันบริเวณแม่น้ำน้อย
          อีกแนวทางหนึ่งจากหลักฐานเอกสารจีน โดย ดร.สืบแสง พรหมบุญ ศึกษาวิเคราะห์กรณีเจ้านครอินทร์เมื่อครั้งเป็นอุปราชเมืองสุพรรณ ได้เป็นทูตไปเมืองจีน จักรพรรดิจีนได้อนุญาตให้นำช่างปั้นหม้อจีนมาเมืองไทยได้ จึงทำให้มีอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้น เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิต ได้แก่ ไหสี่หู ครก ขวด หรือแจกัน ท่อประปา และชิ้นส่วนเครื่องประกอบอาคาร
        ลักษณะทั่วไป เป็นเตาเผาที่มีขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐมีลักษณะเป็นเรือประทุนจึงเรียกว่า เตาประทุน 
ระบายความร้อนเฉียงสภาพที่ขุดและตกแต่งโดยกรมศิลปากรจะเห็นการพังทลายส่วนที่เป็นประทุนยุบลงมา แต่ก็ยังพอจะเห็นร่องรอยที่ขุดโดยตกแต่งแล้วมีประมาณ ๙ เตา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๐๙
           ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เตาแม่น้ำน้อย เป็นอาคารขนาดใหญ่เชื่อมต่อกันสองหลักหลังแรกอาคารโปร่งโล่งคลุมเตาเผาไว้ ๔ เตา โดยยกพื้นโดยรอบตัวเตาเผาเพื่อที่ผู้ชมสามารถชมตัวเตาเผาได้โดยรอบ บริเวณทางเดินมีนิทรรศการที่ให้ข้อมูลโดยสังเขปของแหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อาคารหลังที่สองแสดงแบบจำลองเตาเผาแม่น้ำน้อยและตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจำนวนหนึ่งที่พบในแหล่งนี้ อย่างไรก็ดี ถ้าผู้ใดสนใจชมเครื่องปั้นดินเผาจากแหล่งนี้เพิ่มเติม สามารถขอชมของที่เก็บไว้ในกุฏิของท่านเจ้าอาวาสวัดพระปรางค์ได้เช่นกัน
      ผลิตภัณฑ์จากเตาเผาแม่น้ำน้อย ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาที่เป็นไหสี่หู ครก โอ่ง อ่าง กระปุกใส่ปูน ขวด ปากแตรรูปทรงสูง หวด ฝา เครื่องประกอบ สถาปัตยกรรม กระเบื้องปูพื้น ประติมากรรมลอยตัวกระสุนดินเผาขนาดต่างๆ ที่เป็นการผลิตแบบสั่งทำ เพื่อใช้ในเขตพระราชฐานหรือสถานที่สำคัญที่พบได้แก่พระราชวังโบราณพระนครศรีอยุธยา และนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นต้น