"นวัติวิถี"เรื่องเล่าใต้ต้นทองกวาว
3 กันยายน 2561

/data/content/425/cms/bcdfjmsz4678.jpg

สืบสาน "นวัติวิถี" เรื่องราวชาวทองเอน ตำนานทองเอน บทที่ ๓ เรื่อง
"แก้บนหลวงพ่อดี ด้วยพลุ มี ๒ นัยยะ"
นัยยะที่ ๑ จาก ลุงดำ อ่วมเจริญ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ กล่าวว่า ครั้งหนึ่ง
หลวงพ่อได้ถูกนิมนต์ไปในงาน เฉลิมพระชนมพรรษา พระพุทธเจ้าหลวง (รัชกาลที่ ๕) ที่ทุ่งพระสุเมรุ
หรือ สนามหลวง ในปัจจุบันนี้ หลวงพ่อดีมีความชำนาญในการทำพลุ ได้รับนิมนต์ไปในงานครั้งนี้ และ
ได้นำพลุ ไปจุดถวายหน้าพระที่นั่งด้วย

ซึ่งในครั้ง นั้นมี ๒ วัดไปด้วยกันคือ
๑.วัดประศุก
๒.วัดกลางซึ่งอยู่ในเขตอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ปรากฏว่าพลุของหลวงพ่อ ได้รับ รางวัลชนะเลิศในงานครั้งนี้ จนเป็นที่ ประทับ
พระราชหฤทัยพระพุทธเจ้าหลวง และพระองค์จึงทรงพระราชทานพัด พระนารายณ์
ทรงครุฑ แด่หลวงพ่อดี เป็นที่ระลึกและเป็นสมณศักดิ์ประจำ หลวงพ่อต่อไป

นัยยะที่ ๒ จากชาวทองเอนเล่าสืบกันมา หลวงพ่อดีพร้อมทั้งคนวัด ได้นำพลุไป
จุดถวายหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระพุทธเจ้า หลวง แต่ปรากฏว่า พลุหลวงพ่อดีได้ระเบิด
หน้าพระที่นั่ง ด้วยเกรงอาญา คณะหลวง พ่อดี รีบเก็บของกลับวัด แต่ในขณะที่กำลังกลับกัน
สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้โปรด เมตตาให้ไปเรียกคณะของหลวงพ่อดีกลับมา

และได้พระราชทานพัดพระนารายณ์ ทรงครุฑ แก่หลวงพ่อดี ซึ่งทั้ง ๒ นัย ดังกล่าว จนเป็นเหตุให้
ชาวบ้านที่มีเคารพศรัทธาในหลวงพ่อ เวลามาบนบานขานกล่าวกับหลวงพ่อ เมื่อได้สมประสงค์แล้ว ก็
จะมาแก้บนด้วย การจุดพลุภายในวัด ซึ่งในปัจจุบันนี้ ก็ มีชาวบ้านมาแก้บนด้วยพลุแทบทุกวัน

นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อยังมีความรู้ เรื่องยาแผนโบราณ เป็นอย่างดี สามารถรักษาผู้ป่วยไข้ให้หาย
จากโรคภัยไข้เจ็บ และมีชีวิตอยู่รอดได้เป็นจำนวนมาก จะ เห็นว่ามีคนมารับการรักษาจากหลวงพ่อ ทั้งไกล
และใกล้เป็นจำนวนมาก เนื่อง จากในสมัยนั้นวงการแพทย์ยังไม่เจริญ เข้ามาถึงในท้องถิ่นนี้ โดยการ
คมนาคม ไม่สะดวก

ประวัติหลวงพ่อดี ชาติภูมิ หลวงพ่อดี เดิมชื่อ ดี นามสกุล อ่วมเจริญ เกิดที่บ้านสิงห์ อำเภอบางระจัน
ปัจจุบัน คือบ้านสิงห์วัดสาธุการาม อำเภอค่าย บางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี โยมบิดา มารดา เป็นคนบ้านสิงห์
ไม่ ทราบชื่อ หลวงพ่อดี มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน ๗ คน คือ
๑.นางเคียม อ่วมเจริญ
๒.นายเอี่ยม
๓.นายช้าง อ่วมเจริญ
๔.หลวงพ่อดี
๕.นางเมาะ
๖.นายคำ อ่วมเจริญ
๗.นายเงิน อ่วมเจริญ ทุกคนได้ถึงแก่ กรรมหมดทุกคนแล้ว

      เมื่อเป็นฆราวาสได้แต่งงานกับนางขำ ไม่ทราบนามสกุลและไม่ทราบว่า เป็นคนบ้านใด
มีบุตรด้วยกัน ๔ คน คือ ๑.นายมี อ่วมเจริญ ๒.นายยา อ่วมเจริญ ๓.นางสี ๔.นายที อ่วมเจริญ
ทุกคนได้ถึงแก่กรรมหมดทุกคนแล้ว

ด้านการศึกษาและบรรพชาอุปสมบท ไม่มีหลักฐาน หลังจากมีบุตรด้วยกัน ๔ คนแล้ว หลวงพ่อดีจึงได้
อุปสมบทที่วัดกลาง (เดิมมีชื่อว่าวัดสระพัง) ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี จำพรรษา อยู่ที่
วัดกลาง จนตลอดชีวิตของท่าน มรณภาพเมื่อปีจอ (ประมาณ พ.ศ.๒๔๖๕ ) ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดี
เมื่อหลวงพ่อดีได้ถึงแก่มรณภาพแล้ว

ท่านเจ้าอาวาสรองลงมาถึงองค์ที่ ๓ คือ พระสมุห์จันทร์ เจ้าคณะตำบลทองเอน ได้จัดงานประจำปีขึ้น
ในขณะนั้นได้จัดหา รำวงมารำ สมโภชน์ในงาน ในตอนเช้าของ งาน บรรดานางรำที่คอยรับประทานอาหารเช้าอยู่นั้น
ได้เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงขึ้น มีนางรำ ๒ คน เกิดปวดท้องและชักกระตุก อย่างกระทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุ

ท่านสมุห์จันทร์ ได้สอบถามทายกวัด แล้วทายกวัดได้ให้ไปจุดธูปเทียนคารวะ เจ้าวัด ปรากฏว่านางรำทั้ง ๒ คนนั้น
ได้หายปวดอย่างฉับพลัน ปานปาฏิหาริย์ ท่านสมุห์จันทร์ จึงสอบถามผู้บริหาร วัดแต่ก่อนมา ว่ามีพระอาจารย์องค์ใดที่
มรณภาพแล้วมีคนนับถือมาก ทายกวัด ก็บอกว่ามีหลวงพ่อดีองค์เดียว

พระสมุห์จันทร์ พร้อมทั้งทายกวัด ได้ ริเริ่มจัดสร้างรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อดี ไว้เป็นที่เคารพสักการบูชาประมาณ
พ.ศ.๒๔๘๙ เมื่อทำการหล่อรูปท่านเสร็จแล้ว ได้เกิดนิมิตที่ดี คือ เมื่อทุบเบ้ารูปหล่อ หลวงพ่อออกมา ปรากฏว่า มี
ฝนตกอย่าง น่าอัศจรรย์ทั้งที่ไม่มีเค้าฝนจะตก… ปัจจุบันวัดกลาง มีพระอธิการลั่นทม ปภากาโร ( โคตรปา )
เป็นเจ้าอาวาสและ เป็นผู้ให้ข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับ หลวงพ่อดี