วัดพรหมเทพาวาส(วัดชลอน)
8 สิงหาคม 2560

 /data/content/214/cms/aeghopqtvw24.jpg
"ย้อนรอยประวัติศาสตร์ วัดพรหมเทพาวาส"

       ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พ.ต.ท. ม.ล. กิติบดี ประวิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ได้เดินทาง

มาเป็นประธาน เปิดงานย้อนรอยเสด็จประพาสต้น พระปิยมหาราช ครั้งที่ ๑๑ วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐

ณ ที่ วัดพรหมเทพาวาส ต.หัวป่า อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

       สำหรับประวัติความเป็นมา ลองไปค้นศึกษา ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ ในรัชสมัยสมเด็จพระ

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสต้นมายังจังหวัดสิงห์บุรีซึ่งในขณะนั้น เมืองสิงห์บุรี มีการ

พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดดังเช่น ที่ทรงเล่าไว้ในพระราชหัตถเลขาว่า "การทำมาค้าขายของ

ราษฎรมีคึกคักมากขึ้นกว่าแต่ก่อน" 


/data/content/214/cms/beghkpqwy268.jpg
           ท่าน้ำหน้าวัดพรหมเทพาวาสในอดีต ที่ ร.๕ เสด็จประพาสต้นขึ้นหน้าวัด

 /data/content/214/cms/bdegkopsvz67.jpg
                        ท่าน้ำ หน้าวัดพรหมเทพาวาสในปัจจุบัน

      เส้นทางเสด็จประพาสต้นเมืองสิงห์บุรี เริ่มต้นในรุ่งเช้าของวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวได้ประทับเรือพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินออกจากเมืองอ่างทอง ล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยา

จนเข้าเขตเมืองสิงห์บุรี จนขบวนเสด็จประพาสต้น ได้จอดเทียบท่าที่หน้าวัดชลอนหรือ วัดพรหมเทพาวาส

ที่มาของชื่อวัดชลอน มีข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไป 

        แต่เมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงห์บุรี ใน พ.ศ.๒๔๒๑

พระองค์ทรงบันทึกชื่อวัดนี้ไว้ ในพระราชหัตถเลขาว่า "วัดชลอน" ความปรากฏใน พ.ศ.๒๔๒๑ ดังนี้ "เวลา

สองโมงเช้า ออกเรือจากพลับพลาคลองประทุม ล่องลงมา ตามลำน้ำเห็นวัดชลอนซึ่งพระธรรมไตรโลกสร้าง

ดูงามดีอยู่ วัดนี้พระธรรมไตรโลก ว่าเดิมชื่อว่า พระพรหมเทพาวาส ราษฎรเรียกว่า วัดชลอน ตามตำบลบ้าน" 

/data/content/214/cms/beghlmorx269.jpg

        ครั้งเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ ๒ ทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขา ว่า "เวลา สี่โมง ถึงวัดพรหมเทพาวาส

ของท่านวิมล (อ้น) ขึ้นถ่ายรูป มีพี่น้องของท่านวิมลมารับมาก ต้นโพธิ์กิ่งตอนจากวัดนิเวศธรรมประวัติใหญ่โต

งามดีมาก แต่เอนไปข้างหนึ่ง เพราะหลบต้นมะม่วง อยู่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงออกจากวัดชลอนทรงถ่ายภาพศาสน

สถานและประชาชนที่มารับเสด็จ" 

         ข้อความและรูปภาพดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบถึงสภาพของวัด

ในสมัยนั้น อนึ่ง ๑๐๓ ปีผ่านไป จนปัจจุบัน ร่องรอยการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้น ก็มีปรากฎให้เห็น ให้

สัมผัสได้ในวัดแห่งนี้ โดยทางวัดได้จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อรวบรวมเรื่องประวัติศาสตร์สิงห์บุรี เมือง

พรหมบุรี รวมถึงเรื่องราวการเสด็จประพาสต้น ในพุทธศักราช ๒๔๔๙ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังและให้ผู้

ที่สนใจเรียนรู้ต่อไป 

/data/content/214/cms/dfghpqsxyz78.jpg

ขอบคุณภาพ / ข้อมูล โดยบริษัทโกลบอลอินเตอร์คอมมิวนิเคชั่นจำกัด

 

       วัดพรหมเทพาวาส ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จาก
ประวัติพระพิมลธรรม(อัน) ท่านได้บรรพชา
เป็นสามเณรที่วัดพรหมเทพาวาส (ชลอน) เมื่ออายุ ๑๔ ปี
พ.ศ.๒๓๗๘ 
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีพระครูพรหมนครบวรมุนี (อุ่น) เจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์ และมีสำนัก
เรียนบาลีที่วัดแห่งนี้ 

      แสดงว่า วัดเจริญรุ่งเรืองมากตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และมีราชาคณะอุปถัมภ์ คือ
พระพิมลธรรม (อัน) เจ้าอาวาสวัดเชตุพนวิมลมังคลาราม 
อุปถัมภ์วัดในรัชกาลที่ ๔ ถึงรัชกาลที่ ๕
ต่อมาพระมงคลทิพยมุนี (มุ้ย) 
เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส อุปถัมภ์วัด ในสมัยรัชกาลที่ ๖ 
ถึงรัชกาลที่ ๗ 

/data/content/214/cms/adeiosu34789.jpg

       อนุสรณ์สถาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่วัดพรหมเทพาวาส

      ปฏิสังขรณ์อุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสร้างอาคารเรียนมงคลนิธิ
วัดพรหมเทพาวาส (ชลอน)
เป็นวัดสำคัญคู่เมืองพรหมบุรี เป็นสถานที่สำหรับ
ข้าราชกาลเมืองสิงห์บุรีจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ในอุโบสถเป็นประจำทุกปี การ
ที่พระพิมลธรรม(อัน) มีชาติภูมิอยู่ที่พรหมบุรี อุปสมบทที่วัดพรหมเทพาวาส 
เป็นพระราชาคณะที่รัชกาลที่ ๕ ทรงนับถือ ทำให้พระองค์ทรงรู้จักวัดพรหมเทพาวาส (ชลอน)   
      ดังหลักฐานที่บันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์เสด็จพระราชดำเนินเมืองลพบุรี และอื่นๆ พ.ศ.๒๔๒๑
ระหว่างที่เสด็จกลับพระนครทางชลมารคตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านหน้าวัดพรหมเทพาวาส (ชลอน)
ทรงบันทึกว่า 
     "เห็นวัดชลอน ซึ่งพระธรรมไตรโลกสร้าง ช่อฟ้าใบระกา ปิดทองใหม่ หอระฆัง ข้างหน้าทำเป็นยอด
เกี้ยวดูงามดีอยู่ วัดนี้พระธรรมไตรโลก ว่า เดิมชื่อ วัดพรหมเทพาวาส ราษฎรเรียกวัดชลอนตามตำบลบ้าน
กรมการเมืองพรหมถือน้ำที่นั้น แลถึงฤดูเทศกาลราษฎรก็มานมัสการพระวัดนี้ด้วย ซึ่งพระธรรมไตรโลก
สร้างวัดนี้ เพราะชาติภูมิเดิมของท่านอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี"
     และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น เยี่ยมเยียนราษฎรที่วัดพรหมเทพาวาส
(ชลอน) เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๙ (ร.ศ.๑๒๕)  ทรงบันทึกว่า 
      "วันที่ ๗ เช้า ๒ โมง ออกเรือไชโย ๔ โมง ถึงวัดชะลอนพรหมเทพาวาสของท่าน วิมลเทพาวาส (อ้น)
ขึ้นถ่ายรูป มีพี่น้องพระพิมลมารับมาก ต้นโพธิ์กิ่งตอนวัดนิเวศใหญ่โตงามดีมาก แต่เอียงไปข้างหนึ่ง 
เพราะหลบต้นมะม่วง อยู่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงออกจากวัดชลอนทรงถ่ายภาพศาสนสถาน ประชาชนที่มารับเสด็จ
      เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทำให้เราทราบถึงสภาพของวัดในสมัยนั้น ต่อมา ในสมัยรัชกาล
ที่ ๖ สมเด็จสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ที่วัดพรหมเทพาวาส (ชลอน)
เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง
๒๒ เมตร ยาว ๔๕ เมตร 

การบริหารการปกครอง พระอธิการปัญญา ปสนฺโน เป็นเจ้าอาวาส