วัดกระดังงาบุปผาราม
29 กรกฎาคม 2560

/data/content/182/cms/fijpqrstyz79.jpg
                            พระหลวงพ่อปากแดง ประดิษฐานในวิหารมหาอุตม์     

"ประวัติวัดกระดังงาบุปผารามและวิหารมหาอุตม์"
     วัดกระดังงาบุปผาราม ตั้งอยู่ ๘๐ หมู่ ๖ ถนนสายสิงห์บุรี-ชัยนาท 
ตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองมีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๓๘ ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์
มี ๑ แปลง  สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย - กรุงศรีอยุธยาตอนต้นผู้รู้สันนิษฐาน
ตามลักษณะอิฐ ปูนหมัก โครงสร้างต่างๆ โดยตามสภาพที่มีหลักฐานปรากฏชัด
ในปัจจุบัน คือ วิหารอุตม์ ด้านในมีพระพุทธรูปปูนปั้นทำด้วยหินทรายแดง กึ่งยิ้ม 
กึ่งเคร่งขรึม ทาปากแดง อย่างมีชีวิตชีวาในยุคความเจริญ สวยงาม มีความ
ศักดิ์สิทธิ์มาก
    (ดังความที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ 
ในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่จักค้าม้า 
ค้าใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส..) 
"ลักษณะวิหาร"
      วิหารเป็นทรงสำเภา (เรือสำเภา) ลักษณะทรงไทยสมัยอยุธยาตอนต้น 
ก่ออิฐฉาบผนังทึบช่องแสง ๓ ช่อง ทั้งสองด้าน หันหน้าทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านทิศตะวันออก กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ประดับด้วย เจดีย์รายด้านหน้า ๒ องค์ 
ต้นมะพรูดเก่าแก่อายุ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี มีกำแพงแก้วก่ออิฐทึบล้อมรอบ 
สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตรเศษ
"พระพุทธรูปภายในวิหาร"
     ภายในวิหารมหาอุตม์ มีพระพุทธรูป ๑๑ องค์ เป็นสมัยอยุธยาตอนต้นทำด้วยปูนหมัก
ที่มีความละเอียดอ่อนเพิ่มขึ้น รวม ๒๒ องค์ ถูกลงรักปิดทองไว้ทั้งหมด ในวิหารมหาอุตม์ 
ดังนั้นมีพระสองสมัยอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีลักษณะแบบมอญ บางท่านเรียกว่า วิหารหลวงปู่อึ่ง
มีความสำคัญตามตำนาน กล่าวว่า มีไว้สำหรับปลุกเสกในคราวออกรบ มีทางเข้าจะ
ไม่มีทางออก เข้าและออกได้ครั้งละหนึ่งคนบางแห่งเรียกว่า ประตูบูรพา 

"ประวัติวัดกระดังงาบุปผารามและวิหารมหาอุตม์"
     วัดกระดังงาบุปผาราม ตั้งอยู่ ๘๐ หมู่ ๖ ถนนสายสิงห์บุรี-ชัยนาท 
ตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองมีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๓๘ ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์
มี ๑ แปลง  สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย - กรุงศรีอยุธยาตอนต้นผู้รู้สันนิษฐาน
ตามลักษณะอิฐ ปูนหมัก โครงสร้างต่างๆ โดยตามสภาพที่มีหลักฐานปรากฏชัด
ในปัจจุบัน คือ วิหารอุตม์ ด้านในมีพระพุทธรูปปูนปั้นทำด้วยหินทรายแดง กึ่งยิ้ม 
กึ่งเคร่งขรึม ทาปากแดง อย่างมีชีวิตชีวาในยุคความเจริญ สวยงาม มีความ
ศักดิ์สิทธิ์มาก

    (ดังความที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ 
ในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครใคร่จักค้าม้า 
ค้าใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส..) 

/data/content/182/cms/dhknuvyz1678.jpg

"ลักษณะวิหาร"
      วิหารเป็นทรงสำเภา (เรือสำเภา) ลักษณะทรงไทยสมัยอยุธยาตอนต้น 
ก่ออิฐฉาบผนังทึบช่องแสง ๓ ช่อง ทั้งสองด้าน หันหน้าทางด้านแม่น้ำเจ้าพระยา
ด้านทิศตะวันออก กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ประดับด้วย เจดีย์รายด้านหน้า ๒ องค์
ต้นมะพรูดเก่าแก่อายุ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี มีกำแพงแก้วก่ออิฐทึบล้อมรอบ 
สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตรเศษ

"พระพุทธรูปภายในวิหาร"
     ภายในวิหารมหาอุตม์ มีพระพุทธรูป ๑๑ องค์ เป็นสมัยอยุธยาตอนต้นทำด้วยปูนหมัก
ที่มีความละเอียดอ่อนเพิ่มขึ้น รวม ๒๒ องค์ ถูกลงรักปิดทองไว้ทั้งหมด ในวิหารมหาอุตม์ 
ดังนั้นมีพระสองสมัยอยู่ในที่เดียวกัน โดยมีลักษณะแบบมอญ บางท่านเรียกว่า วิหารหลวงปู่อึ่ง
มีความสำคัญตามตำนาน กล่าวว่า มีไว้สำหรับปลุกเสกในคราวออกรบ มีทางเข้าจะ
ไม่มีทางออก เข้าและออกได้ครั้งละหนึ่งคนบางแห่งเรียกว่า ประตูบูรพา 

 
/data/content/182/cms/abcfjnotu135.jpg

                                  เจดีย์ประธานกับวิหารมหาอุตม์

/data/content/182/cms/bcdknpwxyz25.jpg
                                  พระอุโบสถภายในวัด

     พระอุโบสถสูงประมาณ ๑ เมตรเศษ สมัยหลวงปู่อึ่งได้บูรณปฎิสังขรณ์วัดตลอดระยะเวลา
สมัยนั้นเกิดสงครามพม่า สงครามจีนฮ่อ และท่านได้แตกทัพไปมรณภาพที่เมืองเหนือชาวบ้าน
มีความเชือว่า ไม่ต้องทำให้พระทำน้ำมนต์แต่ประการใดเพียงแต่เอาน้ำในวิหาร แล้วบอกเล่า
อธิษฐานตามความปรารถนาก็ประสบผลสำเร็จ ใช้กันทั้งหมู่บ้าน

     ในสมัยนั้น กล่าวกันว่า วัดกระดังงาสมัยนั้นมีต้นกระดังงาอยู่มาก ส่งกลิ่นหอมไปทั่วัด ถัดมาด้าน
หลังเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำมีลานประทักษิณ เสาหาร ปล้องโฉน สมัยกรุงศรีอยุธยา สูงโดยประมาณ ๒๐
เมตร เจดีย์มีมาตั้งแต่สงครามพม่า สงครามจีนฮ่อ บูรณปฎิสังขรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยคณะ พ.อ.(พิเศษ)
พล ราชประสิทธิ์ เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๒๕ ถัดจากเจดีย์ประมาณ ๑๐ เมตร มี"พระอุโบสถ"หลังเก่า
ซึ่งมีมาแต่เดิมเช่นเดียวกัน โดยไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด ด้านข้างอุโบสถหลังเก่าทิศใต้มี
"พลับพลา" ที่ประทับตั้งเด่นอยู่ปรากฏเป็นหลักฐานแต่ไม่ทราบว่าสร้างไว้ เพื่อประโยชน์อะไร


/data/content/182/cms/abdejkmnorvw.jpg

"ตำนานเจดีย์ประธาน"
       เป็นลักษณะเจดีย์ทรงระฆังคว่ำรูปแบบลังกา ด้านบนมีลาน ประทักษิณย่อมุมไม้สิบสอง
เสาหาร ปล้องไฉน ปรียอด สมัยกรุงศรีอยุธยาสูงโดยประมาณ ๒๐ เมตร คล้ายกับเจดีย์
ยุทธหัตถีที่สุพรรณบุรี แต่องค์เล็กกว่า มีซุ้มจระประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง ๔ ทิศ
อยู่ตรงกลางองค์ระฆ้ง เล่าสืบต่อกันมาว่า

      ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาพักทัพอยู่สถานที่แห่งนี้ ทหารเอกได้ล้มป่วย
จากการสู้รบ และเสียชีวิตลง จึงฝังร่างไว้ ณ สถานที่แห่งนี้ ก่อนที่พระองค์จะขึ้นไปเมือง
พิษณุโลก และได้รับสมัครไพร่พลจากชาวบ้าน (ปัจจุบันคือบ้านสมัคร หมู่ ๘ ด้านใต้ของวัด)
ได้นำอาวุธ เช่น มีด ขวาน จากบ้านบางสักเหล็ก (ปัจจุบัน คือ บ้านบางสักเหล็ก หมู่ ๖
ด้านเหนือของวัด)

      การบูรณะเจดีย์ประธานนั้นเคยบูรณะปฎิสังขรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง โดยคณะ
พ.อ.พิเศษพล ราชประสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๑ มกราคมา ๒๕๒๕ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๕
กล่าวว่า"ประวัติผู้สร้างเจดีย์เป็นทหารเอกของพระมหาธรรมราชาธิราชพระราชบิดาของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์การถ่ายบาปจากการรบ การฆ่าผลาญ
ชีวิตกันเป็นที่รวมอัฐินักรบของบรรพบุรุษ ท่านได้ลาบวชที่วัดเป็นพระสงฆ์ที่วัดกระดังงา
แห่งนี้ รู้จักกันในนาม"หลวงพ่ออึ่ง" สมัยนั้น ปัจจุบันมีรูปปั้นประดิษฐอยู่ในวิหาร
มหาอุตม์ใกล้ๆ กับเจดีย์ประธานใหญ่องค์นี้ด้วย ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓
จากสมัยนั้นคงสภาพอยู่มาจนถึงปัจจุบันขณะนี้ ๕๐๐ กว่าปีเศษ




   "เสาหงส์" อยู่ถัดมาด้านทิศใต้ของวิหารเดิมเป็นเสาคู่อยู่หน้าศาลาหลังเก่า ปัจจุบัน เหลือเพียง
เสาเดียวที่เห็นอยู่ด้านทิศใต้มีอุโบสถเป็นลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ที่เรียกว่า "โบสถ์อยู่บนศาลา"กว้าง ๑๘
เมตร ยาว ๓๘ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ มีลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น ทรงไทย พระประธานอุโบสถ
มีลักษณะปางมารวิชัย มีอดีตเจ้าอาวาสที่เป็นที่เคารพศรัทธาแก่คนทั่วไปได้แก่ หลวงปู่จีน ประชาชน
ชาววัดกระดังงาปุบผารามหล่อรูปของท่านไว้เป็นที่สักการบูชา นอกจากนั้น ท่านยังมี "บาตรทองเหลือง
ใบใหญ่สมั้ย ร.๕ จารึกว่า เมื่อเสด็จพระราชดำเนินประเทศยุโรปรัตนโกสินทรศกครั้ง ๑๒๖
เป็นหลักฐานอยู่ในปัจจุบัน 

/data/content/182/cms/bdghipux1246.jpg

 

     ปัจจุบันมีพระครูใบฎีกาชาติชาย อาภาธโร เป็นเจ้าอาวาสวัดกระดังงาบุปผารามและเป็นเลขาฯ
เจ้าคณะตำบลบางกระบือ 

ภาพวิหารเก่าก่อนบูรณะ

/data/content/182/cms/defgijqsx479.jpg

/data/content/182/cms/cdfgnpqrswy1.jpg
เครดิต ภาพ www.watkradungngabuppharam.com
ข้อมูล / ศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรมจังหวัดสิงห์บุรี