วัดประศุก
22 สิงหาคม 2560

/data/content/243/cms/cghjlnrsvx16.jpg

วัดตั้งอยู่ เลขที่ ๑๑๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕
ตำบล อินทร์บุรี อำเภอ อินทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี

     วัดประศุก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก เดิมชื่อวัดข่า เพราะพวกข่า (พม่า)
ในสมัยนั้นได้ก่อสร้างขึ้นมา แต่ไม่ทราบว่า เจ้าอาวาสชื่ออะไร
     เมื่อกองทัพเงี้ยวแตกได้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง ประชาชนนิยมเรียกท่านว่า หลวงพ่อข่า
ปกครองวัดอยู่ และพวกเงี้ยว (“เงี้ยว”  หมายถึง กลุ่มไทใหญ่  เป็นกลุ่มชนชาติไต  เผ่าหนึ่ง
ที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน  ประเทศพม่า
)
 
ได้ถอยทัพล่นมาอพยพอยู่ที่วัดนี้ ชาวบ้านที่ทราบข่าว จึงได้
ช่วยกันหาวิธีที่จะสู้กับพวกเงี้ยวที่จะมาอยู่ที่วัด แต่ทัพเงี้ยวหรือพม่า ก็ไม่ได้ยกกองทัพมาทางนี้
     ด้วยเหตุนี้ ประชาชนถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดีแล้ว ประชาชนพร้อมใจกันเรียก
ชื่อเสียใหม่ว่า วัดสนามชัย


/data/content/243/cms/cdhkmnopt247.jpg

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๑๘๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๐ เมตร
ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญ อุโบสถกว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ 
พระประธานในอุโบสถ มีลักษณะปางพระพุทธชินราชหล่อทองเหลืองปิดทอง

ปูชนียวัตถุ
วิหาร กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๑๘๗ 
พระพุทธรูปหลวงพ่ออิ่ม มีลักษณะเป็นรูปหล่อทองเหลือง
ศาลาการเปรียญ มีลักษณะเป็นอาคารสองชั้น กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๓๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ 
หอระฆัง มีลักษณะเป็นแบบสองชั้นหลังคาแบบทรงไทย กว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตรสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๑ 
พิพิธภัณฑ์ มีลักษณะเป็นแบบทรงไทยสองชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้


/data/content/243/cms/dgmruwxz4568.jpg

วัดประศุก ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๖ ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เดิมชื่อ วัดสนามชัย 
ในสมัยพระครูอินทมุนี (โต) เป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ 
ได้เสด็จฯมาพักแรมที่วัดนี้ ก่อนที่จะเสด็จกลับ ได้ทรงพระราชทานพรแด่ประชาราษฎร์ว่า "จงเย็นเป็นสุข" 
จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "ประศุก" เป็นคำที่เพี้ยนจากคำว่า "เป็นสุข" 
การปกครอง พระอธิการสมชาย เขมสุโข เป็นเจ้าอาวาส


/data/content/243/cms/cdfjkortvx24.jpg



/data/content/243/cms/achkmorswxy3.jpg

"มานมัสการพระวัดประศุก" วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๐ 
วัดตั้งอยู่ เลขที่ ๑๑๒ หมู่ที่/หมู่บ้าน ๕ ตำบล อินทร์บุรี อำเภอ อินทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี

ประศุก ชื่อนี้คุ้นหูแอดฯ มาตั้งแต่ได้ดูภาพยนต์เรื่องบางระจัน ของธนิตย์ จิตนุกูล กำกับ
ในฉากหนึ่ง ตัวละครชาวบ้านได้กล่าวกับผู้นำหมู่บ้านบางระจัน ว่า "ข้าหนีทัพพม่า มา
จากบ้านประศุก" พอนึกได้ก็เลยลองเข้ามาดูสถานที่บ้านประศุก โดยเลือกเอาวัดประศุก
เพราะเป็นวัดเก่าโบราณ

และวัดประศุกนี้ เคยเป็นข่าวดัง ข่าวหนึ่ง คือรูปหล่อเหมือนหลวงพ่ออิ่ม อดีตเจ้าอาวาสวัดประศุก
อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี หายไปจากวัดนานนับ ๔๐ ปี ได้กลับวัดอีกครั้ง เพราะเซียนพระไปพบเจอ
ที่ จ.ขอนแก่นและได้ทำการบูชามาประดิษฐานไว้ที่วัดดังเดิม เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค.๒๕๕๘

วัดประศุกนี้เป็นวัดเก่าโบราณ ภายในมีต้นยางใหญ่หลายต้นดูแล้วน่าเกรงขาม ด้านหน้าจะมีโรงเรียน
ตั้งอยู่ และด้านในจะพบเรือเก่าๆ หลายลำ ที่ปลดประจำการในการแข่งฝีพายแต่ละปีแล้วชาวบ้าน
จะนำเก็บไว้ที่ศาลาตามจุดต่างๆของวัด

บรรยากาศภายในวัดถ้าเข้าด้านในลึกๆ บอกตามตรง ขนาดตอนกลางวันยังดูน่ากลัว ถ้าเป็นกลางคืน
คงขนลุกน่าดู เพราะสถานที่สงบ เงียบ ปราศจากผู้คนพลุ่งพล่าน

ตำนานวัดประศุก
วัดประศุก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตก เดิมชื่อวัดข่า เพราะพวกข่า(พม่า) ในสมัยนั้น
ได้ก่อสร้างขึ้นมา แต่ไม่ทราบว่า เจ้าอาวาสชื่ออะไร เมื่อกองทัพเงี้ยวแตกได้มีเจ้าอาวาสรูปหนึ่ง ประชาชน
นิยมเรียกท่านว่า หลวงพ่อข่า ปกครองวัดอยู่ และพวกเงี้ยว (“เงี้ยว” หมายถึง กลุ่มไทใหญ่ เป็นกลุ่มชน
ชาติไต เผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) ได้ถอยทัพล่นมาอพยพอยู่ที่วัดนี้ ชาวบ้านที่ทราบข่าว
จึงได้ช่วยกันหาวิธีที่จะสู้กับพวกเงี้ยวที่จะมาอยู่ที่วัด แต่ทัพเงี้ยวหรือพม่า ก็ไม่ได้ยกกองทัพมาทางนี้
ด้วยเหตุนี้ ประชาชนถือว่าเป็นนิมิตรหมายอันดี ประชาชนพร้อมใจกันเรียกชื่อเสียใหม่ว่า วัดสนามชัย

ส่วนที่มาของชื่อวัดประศุก มีที่มี ๒ นัยยะ คือ
นัยยะ ที่ ๑ จากหนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๖ กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระ
พุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า

วัดประศุก ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๖ ตั้งอยู่ริมน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เดิมชื่อวัดสนามชัย ในสมัยพระครู
อินทมุนี (โต) เป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล
ที่ ๕ ได้เสด็จฯมาพักแรมที่วัดนี้ ก่อนที่จะเสด็จกลับ ได้ทรงพระราชทานพรแด่ประชาราษฎร์ว่า "จงเย็นเป็นสุข"
จึงสันนิษฐานว่า คำว่า "ประศุก" เป็นคำที่เพี้ยนจากคำว่า "เป็นสุข"

นัยยะที่ ๒ พระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง ของรัชกาลที่ ๕ หน้า ๕๘-๖๐ กล่าวว่า
“วันที่๘เช้า๒โมง ออกเรือ เขาเตรียมจะให้พักกลางวันวัดเวฬุวันวัตยาราม แต่เห็นยังเช้านักจึงได้เลย
ขึ้นมาจนถึงที่ว่าการอำเภอเมืองอินทร์ แวะจอดที่นั้น ถ่ายรูป ให้พระยาโบราณมาตรวจดูหน้าวัดปลาสุก
ว่าจอดได้ เลื่อนเรือมาจอดหน้าวัดปลาสุก๕โมงเศษ วัดนี้เป็นที่พระครูอินทมุนีอยู่ ชื่อใหม่เรียกว่าวัด
สนามไชย ดูเป็นวัดโบราณมากต้นไม้ใหญ่ แต่ฝีมือเลวๆ เอาโบสถ์เข้าไปไว้ในหมู่ไม้ลึกห่างท่าน้ำมาก..."

เดิมเข้าใจว่าหลังข้างในสุดซึ่งเป็นผนังตึกจะเป็นโบสถ์แต่ไม่ใช่ กลายเป็นวิหารไป พระอุโบสถนั้น
เสาไม้รูปร่างเหมือนการเปรียญ ตั้งต่อออกมาข้างหน้ามีหน้าพระเมืองสรรค์งามอยู่หน้าหนึ่ง ปั้น
พระองค์เป็นปูนต่อขึ้นไว้"

ทั้ง ๒ นัยยะดังกล่าว คำว่า "ประศุก" น่าจะตรงกับนัยยะที่ ๒ มากกว่า กล่าวคือน่าจะมาจากคำว่า
วัดปลาสุก เพราะบทพระราชนิพนธ์เสด็จประภาสต้นครั้งที่ ๒ ทรงบันทึกไว้เก่ากว่านัยยะที่ ๑

สรุปชื่อ ของวัดนี้ เท่าที่ค้นพบในหนังสือและเวบไซด์ต่างๆ จึงกล่าวได้ว่า มีชื่อ ดังนี้
๑.วัดข่า ๒.วัดสนามไชย ๓.วัดประศุก

ที่มาของชื่อวัดประศุก มี ๒ ประเด็นคือ
๑.มาจาก คำว่า "เป็นสุข"
๒.มาจาก คำว่า "ปลาสุก"

ที่ได้เขียนมาทั้งหมด ได้อ้างอิงมาจากหนังสือและเวบไซด์ ถ้าประชาชนในพื้นที่มีข้อโต้แย้ง
ประการใด เชิญมาแชร์ความรู้กันครับ

ขอบคุณ ข้อมูลศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๖
โดยกองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ , พระราชนิพนธ์ ร.๕ จาก
หนังสือ “จดหมายเหตุ เรื่องเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕

/data/content/243/cms/chlmotuvy167.jpg

/data/content/243/cms/dehkopryz345.jpg
ข่
าวหลวงพ่ออิ่ม วัดประศุก กลับวัด
     รูปหล่อ ‘หลวงพ่ออิ่ม’ อดีตเจ้าอาวาสวัดประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี หายไปจากวัด
นานนับ ๔๐ ปี ได้กลับวัดอีกครั้งหลังเซียนพระไปเจอมี คนเสนอขายที่ขอนแก่น อธิษฐานขอให้
ถูกหวยก็ถูกจริง จึงขอเช่า ๕.๕ หมื่นนำมาคืนให้วัด จัดพิธีรับยิ่งใหญ่...
     เมื่อเวลา ๑๐.๐๐ น.วันที่ ๒๖ ก.ค.๕๘ ที่วัดประศุก หมู่ ๕ ต.อินทร์บุรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
ทางวัดได้จัดพิธีรับรูปหล่อเหมือนพระครูพิศิษย์ ศีลคุณ หรือหลวงพ่ออิ่ม ขนาดหน้าตัก ๑๘ นิ้ว
อดีตเจ้าอาวาสวัดประศุกที่หายไปจากวัดเมื่อประมาณ ๔๐ ปีที่แล้ว ได้กลับคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์
โดยมีพิธีการต้อนรับการกลับมาของหลวงพ่ออิ่มอย่าง สมเกียรติ มีชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง
มาร่วมงานจำนวนมาก
     นายสุดใจ จุมจันทร์ หรือ ‘ใจ พิจิตร’ เซียนพระในโซนภาคเหนือ ผู้ที่ได้พระรูปหล่อ หลวง
พ่ออิ่มกลับคืนมา และนำมาคืนให้วัดด้วยตัวเอง เล่าว่า เมื่อประมาณเดือน ตุลาคม ๒๕๕๗ ตนเอง
ได้กลับไปบ้านที่จังหวัดขอนแก่น และได้ไปพบกับพระองค์นี้ ที่ตลาดนัดจตุจักร ขอนแก่น ซึ่งตนเห็น
ก็รู้ทันทีว่าพระหน้าตักกว้าง ๑๘ นิ้ว เป็นพระที่มี หน้าตักกว้างเกินไปที่จะเป็นพระบ้าน ซึ่งหมายความ
ว่า พระองค์นี้น่าจะมาจากวัด ขณะ ที่คนขายพยายามจะขายพระให้กับตนอยู่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่
ตัดสินใจเช่า เพียงแต่อธิษฐานในใจว่า ถ้าหลวงพ่ออยากกลับวัด ก็ขอให้ตนมีโชคมีลาภ
     เซียนพระ ‘ใจ พิจิตร’ กล่าวอีกว่า จากนั้นตนก็ถูกหวย จึงได้ติดต่อเพื่อขอเช่าพระองค์นี้ ซึ่ง
ครั้งแรกคนขายจะเอา ๑ แสนบาท แต่ตนบอกว่าจะเช่าเอาไปคืนวัด จึงตกลงกัน ในราคา ๕๕,๐๐๐ บาท
แล้วก็ถูกหวยอีก ๒-๓ ครั้ง
    "ได้สืบหาที่อยู่ของพระองค์นี้ ซึ่งที่ใต้ฐานพระเขียนไว้ว่า พระครูพิศิษย์ ศีลคุณ หลวงพ่ออิ่ม
ชาตะ ๒๔๐๙ มรณะ ๒๔๘๙ ด้านหลังเขียนว่า วัดประศุก จนรู้และได้ติดต่อผ่านนายพชร จันทรเศธร
หรือนายกตี๋ นายกเทศมนตรีตำบลอินทร์บุรี และนายคำรณ สุวรรณสัมพันธ์ นายก อบต.อินทร์บุรี
จนสามารถนำมาคืนวัดได้" เซียนพระใจบุญกล่าว.


ข่
าวจาก - www.thairath.co.th