หลวงพ่อเจ็ก วัดระนาม
27 มิถุนายน 2560


                           /data/content/73/cms/abiknprz1589.jpg
         พระครูอินทคณานุสิชฌน์ หรือหลวงปู่เจ็ก (หลวงพ่อเจ็ก) อาจารสุโภ อดีตเจ้าอาวาสวัดระนาม หมู่ ๖ 
บ้านระนาม ตำบลชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ชาวจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดใก้ลเคียง
ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก ท่านเปี่ยมไปด้วยความเมตตากับญาติโยมทุกๆ คนที่ไปหาท่าน
ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นใดให้ความเมตตาเท่ากันหมด

         “นายทองอินทร์ สุขุม” เป็นชื่อและนามสกุลเดิมของหลวงปู่เจ็ก เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ที่บ้านเดิมบางนางบวช
อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ นายมะกล่ำ โยมมารดาชื่อ นางถุงเงิน มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน ท่านเป็นคน
ที่ ๖ โดยที่มาของชื่อ “เจ็ก” นั้น นอกจากตั้งตามเชื้อสายเป็นลูกชาวจีนแล้ว ยังตั้งตามความเชื่อที่ว่า “ถ้าชื่อเด็กไพเราะเพราะ
พริ้งจะเลี้ยงยาก ขี้โรค และถ้าตั้งชื่อลูกให้มีความหมายน่าเกลียดน่าชังเด็กคนนั้นๆ จะไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย จะเลี้ยงง่าย


          เมื่ออายุมากขึ้นทางบ้านเห็นว่า ท่านจะต้องรู้หนังสือพออ่านออกเขียนได้ไว้บ้าง พี่สาวกับพี่เขยจึงฝากให้เรียน
หนังสือกับหลวงพ่อปั้น และหลวงพ่อมา ที่วัดเสือข้าม ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี ก็บวช
เป็นพระที่วัดระนาม โดยมีหลวงพ่อใย อดีตเจ้าอาวาสวัดระนามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธรเขียว เป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระใบฎีกาพรหม วัดบางคู เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายาว่า “อาจารสุโภ” บวชได้ ๑ ปี ก็ถูกเกณฑ์เป็นทหาร
เมื่อครบกำหนด ๒ ปี ท่านก็กลับไปบวชเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ โดยมีหลวงพ่อใย อดีตเจ้าอาวาสวัดระนาม
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวดก็รูปเดิม

         นอกจากศึกษาด้านปริยัติจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ หลวงปู่เจ็กยังเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแบน วัดเดิมบาง
(อาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อกวย) หลวงปู่ศรี วัดพระปรางค์ หลวงพ่อใย วัดระนาม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงพ่อพรหม วัดบางปูน ซึ่งอาจารย์ของท่านที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นพระที่เป็นตำนานของสุดยอดพระเกจิทั้งสิ้น

         หลวงปู่เจ็ก เป็นพระอริยสงฆ์ที่ทรงอภิญญาสูงมาก ท่านอายุยืน ท่านมรณภาพนับอายุได้ร้อยกว่าปี และมีเมตตา
เป็นปกติ ไม่ชอบความวุ่นวาย มีความเป็นอยู่เรียบง่าย สมถะเป็นที่สุด วันทั้งวันถ้าไม่มีกิจอะไรท่านจะนั่งภาวนาตลอด เป็น
ที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศ ฌานสมาบัติของท่านนั้นเยี่ยมยอดมากๆ หลายท่านเจอกับตนเอง เช่น ก่อนไป
ตั้งใจจะไปหาท่าน เพื่อให้ท่านสงเคราะห์เรื่องต่างๆ พอไปเห็นหน้าท่าน ท่านสามารถบอกได้หมดว่าต้องการให้ท่าน
สงเคราะห์เรื่องอะไร ทั้งๆ ยังไม่ได้พูดอะไรออกไปเลย

         อย่างไรก็ตามเมื่อครั้งที่หลวงปู่เจ็กมีชีวิตอยู่มักมีผู้นิยมไปกราบไหว้ขอพร และอยากได้ยินคำที่หลวงปู่เจ็ก พูดว่า
“ขอให้โชคดีนะโยม กลับบ้านให้มีเงินทองใช้มากมาย แต่อย่าลืมทำบุญนะ” ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับพรจากหลวงปู่ไปเมื่อกลับ
มากราบหลวงปู่อีกครั้งกลับกลายเป็นคนมีฐานะดีกว่าที่มากราบหลวงปู่ครั้งแรก เรื่องวาจาสิทธิ์นี้เป็นที่กล่าวขานของ
คนจังหวัดสิงห์บุรีและใกล้เคียงมาถึงทุกวันนี้

         ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากนายมนัส พันธุ์กลาง ผู้ที่สนใจข้อมูลการจัดสร้างพระหลวงปู่เจ็กวัดระนาม
ทุกๆ รุ่น สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร.๐๙-๐๘๐๔-๓๔๙๙  หลวงปู่เจ็กศิษย์หลวงพ่อใย

          วัดระนาม เมื่อครั้งที่พระครูสิงหราชมุนี หรือหลวงพ่อใย พรหมสร อดีตเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี อดีตเจ้าอาวาส
วัดระนามนั้น ขึ้นชื่อว่าเจริญสุดขีด การศึกษาของวัดเจริญรุ่งเรืองมาก หลวงพ่อใยท่านเป็นนักส่งเสริมการศึกษาทั้งพระเณร
และฆราวาส มีทั้งโรงเรียนมัธยม โรงเรียนทอผ้า ซึ่งเป็นแห่งแรกที่เป็นโรงเรียนทอผ้าผู้หญิง เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวัน
ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนช่างทอผ้าสิงห์บุรี” มีครู ๑ คน นักเรียน ๓๐ คน ณ สถานที่ซึ่งปัจจุบัน
เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองสิงห์บุรี โรงเรียนมัธยมชื่อโรงเรียนประสิทธิวิทยา รวมทั้งโรงเรียนสิงหราชประชานุเคาะห์

          นอกจากนี้ยังตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมสอนให้พระเณรจบนักธรรม สอบบาลีได้มหาเปรียญมากมาย ในเรื่อง
ของการสอนวิปัสสนากรรมฐานนั้น หลวงพ่อใยท่านก็เป็นพระนักปฏิบัติไ ด้สอนวิปัสสนากรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ
ถึงกับได้ชื่อว่า “วัดระนามเป็นศูนย์กลางการผลิตนักเรียนนักศึกษาก้าวสู่โลกภายนอก”

           ลูกศิษย์ ๒ รูป ของหลวงพ่อใย คือ พระครูอุดม กับหลวงปู่เจ็ก จึงได้เรียนวิปัสสนากรรมฐานโดยปริยาย และด้วย
เหตุที่วัดตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวัดเสือข้าม จึงได้แลกเปลี่ยนสนทนาธรรมกับพระเกจิ ๒ รูป แห่งวัดเสือข้าม คือ หลวงพ่อมา
และหลวงพ่อปั้น  
หลวงพ่อใยเป็นศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อโฉม วัดตาคลีใหญ่ ซึ่งท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์
ในยุคนั้น

           วัตถุมงคล ท่านสร้างใว้น้อยมากเพียงไม่กี่ชนิดท่านจะสร้างเฉพาะตามวาระสำคัญๆ เช่น ผ้าขาวตราโบสถ์
แจกเมื่อคราวรับสมณศักดิ์เป็นพระครูอินทรภารพินิจ พ.ศ.๒๔๕๘ มีคุณวิเศษในทางป้องกันลมพายุใด้อย่างชะงัดนัก
ต่อมาในคราวทำบุญอายุครบ ๖๐ ปี และเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ใด้มีการสร้างวัตถุมงคลไว้แจกแก่ผู้มาร่วมงานแสดงมุทิตาจิต
มีสองชนิดคือ เหรียญรุ่นแรกและพระปิดตามหาอุด จำนวนการสร้างไม่ทราบชัด ประมาณว่าเหรียญสร้างไม่น่าเกิน
๒๐๐๐ เหรียญ ส่วนพระปิดตามีมากกว่าเล็กน้อย

          ปาฏิหาริย์แห่งพระหลวงปู่เจ็ก
           “ล็อกเกตทุกรุ่นของหลวงปู่เจ็กนี้ผู้ที่แขวนคอไว้ เมื่อประสบอุบัติเหตุทางด้านรถชนจะรอดตายทุกราย
ในขณะที่เหรียญรุ่นหนึ่งที่เขาเรียกว่ารุ่น เง็ก มีอภินิหารมากจริงๆ เหรียญรุ่นนี้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ มีหลายคนคิดว่า
หลวงปู่นี้คงสร้างออกมาเฉยๆ คงไม่มีอภินิหารอะไร แต่ที่ไหนได้มีคนเอาใส่หมวกกันน็อกโยนขึ้นฟ้าแล้วเอาปืนยิงนับร้อยๆ
นัด แต่ยิงไม่ถูก เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็นอย่างมาก” 
นี่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องเล่าของพุทธคุณแห่งพระเครื่อง
ที่จัดสร้างโดยหลวงปู่เจ็ก วัดระนาม พระอริยสงฆ์ ๕ แผ่นดิน แห่งเมืองสิงห์บุรี
            พระเครื่องและวัตถุมงคลขอหลวงปู่เจ็กขึ้นชื่อว่าพุทธคุณสูงมากๆ โดดเด่น ด้านแคล้วคลาด มหาอุด เมตตา
โชคลาภยิ่งนัก เช่น เหรียญรุ่น ๑ ของหลวงปู่เจ็ก เป็นเหรียญที่เขียนชื่อท่านผิดไปจากคำว่า “เจ็ก” เป็นเง็ก” แต่เป็นที่
นิยมของบรรดาศิษยานุศิษย์ และประชาชนทั่วไปเป็นอันมาก จนเหรียญรุ่นนี้หมดจากวัดเป็นเวลาอย่างรวดเร็ว ส่วน
รูปหล่อเหมือนหลวงปู่เจ็กสำหรับติดหน้ารถนั้น เป็นรุ่น “ซ่อหอประชุม” มีอภินิหารมากเช่นกัน โดยในวันที่ผู้สร้าง
แบบมาขอถ่ายรูปหลวงปู่ ไม่ติดภาพหลวงปู่สักใบ ทั้งๆ ที่ฟิล์มถ่ายรูปก็ไม่เสียแต่อย่างใด

             ในขณะที่วัตถุมงคลรุ่นไพรพ่ายซึ่งเป็นรุ่นแรกนั้นก็มีอภินิหารแปลกๆ ให้ได้เห็น เช่น ตอนที่สร้างครั้งแรก
นั้นหลวงปู่เทผงลงเบ้าไม่หมดจึงไม่ดังเท่ามี่ควร ท่านจึงนำมาเข้าพิธีหล่อใหม่ ปรากฏว่าช่างรมดำไม่ติดองค์พระของ
ท่านเลย นอกจากนี้แล้วมีดหมอหลวงปู่เจ็กที่ท่านสร้างครั้งแรกนั้นก็มีอภินิหารมากมาย

            การจัดสร้างวัตถุมงคลนั้น นายประจวบ มงคล อดีตอาจารย์ใหญ่ ร.ร.วัดระนาม ซึ่งเป็นลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด
ที่หลวงปู่เจ็กไว้ใจมากที่สุด ไม่ว่าจะทำอะไรภายในวัด รวมทั้งสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่เจ็กทุกๆ รุ่น ท่านก็จะให้
จัดการแทนทั้งหมด