ที่มาของชื่อตำบล”ทองเอน”
26 กรกฎาคม 2560

/data/content/165/cms/hopqtuvyz189.jpg

 

ที่มาของชื่อตำบลทองเอน
เดิมท้องถิ่นแห่งนี้เป็นป่ารกทึบมีสัตว์ป่า อยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทาง
ทิศตะวันออก เดิมมีคนไทยอาศัยอยู่บ้างโดยอาศัยน้ำจากบึงโพธิ์เรียม บึงอ้อ
ลำรางทองเอน ที่เป็นแอ่งน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ หน้าน้ำมีน้ำขังมาก
ต่อมาชาวลาวแง้วที่ถูกกวาดต้อนมาจากนอกเมืองเวียงจันทร์ ได้อพยพและแยกย้าย
มาจากบ้านสิงห์ โพงพางเสือวัดม่วง วัดโพธิ์ศรี เข้ามาจับจองที่ หักร้าง ถางป่า เข้าอาศัย
ตั้งเป็นชุมชนใหญ่โดยอาศัยแห่งน้ำดังกล่าว และส่วนลำรางทองเอนนั้น ที่ริมราง
มีต้นทองกวาวที่ชาวไทยดั้งเดิมเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ต้นทอง ซึ่งเป็นลำต้นใหญ่ เป็นโพรง
และคดโค้ง  เอนขนานไปกับพื้นดินจากลำรางด้านเหนือ ทอดยาวไปทางด้านใต้ เป็นสะพานข้ามลำรางได้ เด็กๆ ที่ไปเลี้ยงวัว ควาย ก็ชอบ
ไปไต่เล่นจึงเรียกดินแดนแถบนี้ ว่า “ทองเอน” ลำรางทองเอนที่กล่าวถึงนี้ คือบริเวณแถบฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของสะพานไปราว ๑
กิโลเมตร เมื่อข้ามคลองชลประทาน (ที่เรียกว่าคลองตามี) ไปปัจจุบันนี้ตื้นเขินหมดแล้ว

ที่มาของชื่อตำบลทองเอน

         เดิมท้องถิ่นแห่งนี้เป็นป่ารกทึบมีสัตว์ป่า อยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไป
ทางทิศตะวันออก เดิมมีคนไทยอาศัยอยู่บ้างโดยอาศัยน้ำจากบึงโพธิ์เรียม บึงอ้อ
ลำรางทองเอน ที่เป็นแอ่งน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ หน้าน้ำมีน้ำขังมาก

         ต่อมาชาวลาวแง้วที่ถูกกวาดต้อนมาจากนอกเมืองเวียงจันทร์ ได้อพยพและ
แยกย้ายมาจากบ้านสิงห์ โพงพางเสือวัดม่วง วัดโพธิ์ศรี เข้ามาจับจองที่ หักร้าง ถางป่า
เข้าอาศัยตั้งเป็นชุมชนใหญ่โดยอาศัยแห่งน้ำดังกล่าว และส่วนลำรางทองเอนนั้น ที่ริมราง
มีต้นทองกวาวที่ชาวไทยดั้งเดิมเรียกชื่อสั้นๆ ว่า ต้นทอง ซึ่งเป็นลำต้นใหญ่ เป็นโพรง
และคดโค้ง เอนขนานไปกับพื้นดินจากลำรางด้านเหนือ ทอดยาวไปทางด้านใต้ เป็น
สะพานข้ามลำรางได้ เด็กๆ ที่ไปเลี้ยงวัว ควาย ก็ชอบไปไต่เล่น

         จึงเรียกดินแดนแถบนี้ ว่า “ทองเอน” ลำรางทองเอนที่กล่าวถึงนี้ คือบริเวณ
แถบฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของสะพานไปราว ๑กิโลเมตร เมื่อข้ามคลองชลประทาน
(ที่เรียกว่าคลองตามี)ไป ปัจจุบันนี้ตื้นเขินหมดแล้ว

/data/content/165/cms/egjqrtvxz236.jpg      /data/content/165/cms/chjlnprux259.jpg