"นวัติวิถี"เรื่องเล่าใต้ต้นทองกวาว
3 กันยายน 2561

/data/content/431/cms/cehjkstvz567.jpg


เรื่องเล่าใต้ต้นทองกวาว สืบสาน "นวัติวิถี"
ตำนานทองเอน บทที่ ๘ เรื่อง "ถนนสาคร"

พระมหาสาคร เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัด ดงยาง ลำดับองค์ที่ ๕
ในสมัยนั้น ต้นยาง วัดดงยางมีเยอะมากและลำต้นใหญ่ ผู้ใหญ่โอบได้ถึง ๕ - ๖ คน
ชาวบ้านจึง ตั้งชื่อวัด ว่า "วัดดงยาง" พระมหาสาคร ร่วมกับชาวบ้านช่วยกัน ตัดต้นยาง
เพื่อนำมาสร้างเป็นอาคารเรียน โดยตั้งชื่อว่า “โรงเรียนสาครประชาสรร” มีอาคารอยู่ ๑ หลัง
เป็นห้องเรียนชั้น ขี้เจีย(ชั้นอนุบาลในปัจจุบัน) จนถึง ป.๔

ในอดีต ก่อนที่จะมีถนนจากวัดดงยางจน ถึงสายเอเชียและเลยไปตลาดอินทร์บุรี
จะต้องเดิน ลัดทุ่ง ลัดนาไป ด้วยเห็นความ รำบากของชาวบ้าน พระมหาสาคร ก็เลย
มีความคิดจะสร้างถนน เพื่อจะได้สะดวก ในการเดินทางไปตลาดอินทร์บุรีหรือ
ไปทำธุระที่อำเภอ จึงได้ไปขอที่ขอทางกับประชาชนที่มี พื้นที่จะทำทางตัดถนน

หลังจากได้แล้ว ก็กะเกณฑ์ชาวบ้านไป ช่วยกันถากถาง ทำ ถนน มีการขุดดิน
ตัดป่าหญ้ารกต่างๆ จน กลายเป็นถนนเล็กๆ พอเกวียน พอควาย ข้ามผ่านไปได้สะดวก
จนเมื่อทำถนนเสร็จ ชาวบ้านต่างเห็นพร้อมต้องกัน ตั้งชื่อ ถนน ว่า“ถนนสาคร”
พร้อมกับติดป้ายเป็น สัญลักษณ์ ซึ่งในตอนนั้น ป้ายถนนสาคร ติดเอาไว้ตรง จุดหน้า
โรงเรียนทองเอนวิทยา

ต่อมาหมู่บ้านมีความเจริญ มีการพัฒนาขึ้น ทางหน่วยงานราชการได้มีโครงการพัฒนา
ให้เป็นถนน ค.ส.ล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก) เพื่อใช้เป็นทางสาธารณะ ระหว่างการตัด ถนน
จึงได้นำป้ายออก แต่ป้ายนั้น ครูธรรมนูญ ได้เก็บรักษาไว้อย่างดี

ยุคสมัยของพระมหาสาคร เป็นเจ้าอาวาสวัด ท่านเป็นคนใจดี มักจะมีคณะลิเกมาขอ
เปิดวิกแสดงที่วัดเป็นเดือนๆ หรือบางครั้งก็ มี พวกหนังเร่ เอาหนังมาฉาย เพื่อบริการให้
คนดูเก็บตังค์อยู่ประจำ แต่ครั้นท่านมรณ ภาพ พระอาจารย์จ่อย ขึ้นมารักษาการแทน
อาจารย์จ่อย ก็ประกาศห้ามกลุ่มคณะลิเก และ หนังเร่ มาฉายมาแสดงภายในวัด