"นวัติวิถี"เรื่องเล่าใต้ต้นทองกวาว
3 กันยายน 2561

/data/content/429/cms/bdhilmnqstz8.jpg

เรื่องเล่าใต้ต้นทองกวาว ตำนานทองเอน บทที่ ๖
เรื่อง "ธาตุเจดีย์ทั้ง ๖ แห่งทองเอน"

เจดีย์ที่ ๑ พระธาตุเจดีย์วัดไผ่ดำ ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เจดีย์วัดไผ่ดำ
สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยอยุธยาอยุธยาตอนต้น เป็นเจดีย์รูป ทรงระฆังคว่ำและเป็นเจดีย์เก่า
ที่ยังคง ลักษณะสมบูรณ์กว่าเจดีย์องค์อื่นๆใน ละแวกวัดใกล้ๆกัน

จากการเล่าของคนเก่าพบว่าเป็นเจดีย์ ที่ปล่อยให้ร้างอยู่ในป่าไผ่ดำ
โดยขาดคน สนใจ จนกระทั่งราว พ.ศ.๒๔๖๕-๒๔๖๙ ปรากฏว่ามีพระภิกษุมา
จำพรรษาอยู่ใน วัดไผ่ดำแต่ก็ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซ้ำยังยังถูกนักเลงของ
เก่าขุดหาของเก่าในเจดีย์ทำให้รูปเจดีย์เอียง และอิฐบาง ส่วนชำรุดเสียหาย

จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๐ สมเด็จพระ สังฆราชกรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โปรดให้คณะสงฆ์
ปกครองคณะธรรมยุตมา ปกครองวัดนี้ โดยมีพระครูประพัฒนสีลคุณ (เอก ปวฑฺฒโน) เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
องค์เจดีย์ จึงได้รับการดูแลบ้างเท่าที่ภูมิปัญญาและความสามารถในสมัยนั้น จะทำได้

เจดีย์ที่ ๒ "ธาตุเจดีย์วัดกลาง" ตั้งอยู่หมู่ ๒ บ้านกลาง ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี
จังหวัดสิงห์บุรี เป็นเจดีย์รูปแบบคล้ายกับวัดไผ่ดำ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา คงสภาพ
รูปร่างสมบูรณ์ประมาณ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ก่อด้วยอิฐแดง ด้านบนเจดีย์พระธาตุวัดกลางนี้ มีต้น ลีลาวดี ๒ ต้น
ที่เกิดบนพระธาตุนี้ผู้เฒ่า ผู้แก่เล่าให้ฟังว่า “เห็นมาแต่เด็ก จนแก่ ต้นก็โตได้เพียงเท่านี้ ไม่ใหญ่ขึ้นอีก”
นับว่าเป็นเรื่องแปลก

เจดีย์ที่ ๓ เจดีย์ผีสิง ตั้งอยู่บริเวณกลางพงป่าที่รกชัฎ หลังประปา หมู่ ๓ ต.ทองเอน เจดีย์นี้มองแบบ
ผิวเผินแทบไม่เหลือรูปร่าง ความเป็นเจดีย์อะไรแล้ว คงเหลือแต่ โพนดินและเศษก้อนอิฐ หลายร้อยก้อน
เกลื่อนในบริเวณพงป่า แม้จะตั้งอยู่ กลางหมู่บ้านแต่ก็อยู่กลางสุมพุม ต้นไม้ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ กลางวัน
ไม่ค่อยมีคนเดินเข้าไปกลางคืนมืด เงียบ วังเวง ใครอยากลองของ ก็ไม่ว่ากัน

เจดีย์ที่ ๔ "เจดีย์สวนนา" อยู่ในบริเวณหมู่ ๑๔ บ้านไผ่ดำ ในพื้นที่นาของคุณทองผล หนูอินทร์ แต่
พระธาตุจุดนี้ เจ้าของพื้นที่ได้ทำการ ไถ่กลบและปรับพื้นที่ทำเกษตรกรรมแล้ว เท่าที่เห็นพอเป็นร่องรอย
ก็คือ ก้อนหิน หลายก้อนที่ยังพคงมีบ้างประปนกับพื้นดิน

เจดีย์ที่ ๕ "เจดีย์กอไผ่" พระธาตุนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาของหมู่ ๑๔ เจ้าของเดิมคือคุณตา สายัญ กัลยา
ปัจจุบัน ยกให้ลูกสาวดูแลต่อแล้ว ตั้งอยู่ในบริเวณกอไผ่ มีลักษณะเป็น ดินโพนขนาดใหญ่ ซึ่งดูจากลักษณะ
แล้วหินที่ช่างสมัยก่อนนำมาก่อเป็นพระธาตุ จะมีลักษณะคล้ายๆกัน กับเจดีย์อื่นๆ เพราะฉะนั้น อายุก็น่า
จะรุ่นคราวเดียวกันกับพระธาตุอื่นๆ ในบริเวณหมู่บ้านทองเอน

จากการสำรวจในบริเวณพระธาตุนี้มี ต้นไม้ขึ้นปกคุม โดยเฉพาะต้นไผ่ เคยมีการตั้งศาลบูชาไว้แต่ก็
ถูกลมพัดพังหมด และก็เช่นเดิมมีร่องรอยการขุดหาของเก่าที่อยู่ ในพระธาตุ จนเป็นรูโพรงขนาดใหญ่ และ
ไม่ทราบว่าได้อะไรไปบ้าง

"เรื่องเล่าความศักดิ์สิทธิ์" คุณ Nukool Luang-in กล่าวว่า เมื่อ ๑๗ ปีก่อน ทีมกำนันฉ่าง เคยมา ขอ
ขุดพระธาตุหาสมบัติ...ทำพิธีขุดตอน กลางคืน โดยใช้รถเเบคโฮขุด ปิดพื้นที่คน นอกห้ามเข้า (ไม่รู้ว่าได้อะไร
ไปหรือเปล่า) พอเช้ามา ชาวบ้านและผมไปเก็บได้แจกันเล็กๆ เครื่องปั้นโบราณ เยอะมากๆ ทุกวันนี้ยังเก็บไว้อยู่
เลยครับ มีที่ชัดเจนคือเศียรพระ ที่ขุดได้นำมาปั้น เป็นองค์แล้วถวายให้ อยู่ที่โบสถ์วัดไผ่ดำ (พระองค์นี้เศียรจะ
ดูแปลกกว่าองค์อื่นๆ ลองไปชมครับ) เรื่องมันยาวนะกับคนที่ ไปขุดได้ตอนแรกๆ มีสยองถึงกับชีวิตเลย

คุณ Panadda Tabong กล่าวว่า จริงๆที่ตรงนี้เคยเป็นวัดมา ก่อนคนเฒ่า คนแก่เล่าต่อๆกันมานะค่ะ แต่
ก็เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ก่อน ใต้องค์พระธาตุก็มีพระอยู่มาก แต่ก็มีคน มาขุดไปจนเป็นอย่างที่เห็นนี่
แหล่ะค่ะ

คุณ Anat Chang กล่าวว่า ตรงนี้ชื่อเดิมชื่อ วัดสะแก มีชื่ออยู่ในโฉดคับ มีคนเคยได้พระเป็นหาบๆ

Nirun Pinthong การขุดพระธาตุ เท่าที่จำได้มีการขุดกัน ถ้าจำได้รางเลือน ตอนเด็กๆ จะมีพระจาก
วัดกระโจมเป็นเจ้าพิธี ชื่อพระอุุดม ขุดกัน หลายที่ ได้พระพอสมควร น่าจะประมาน ยุคทราวดี เคยเห็น
ขุดแถวๆ หมู่ ๑๔

เจดีย์ ที่ ๖ เจดีย์หนองกระทิงใต้ ธาตุเก่านี้ตั้งอยู่กลางทุ่งนาของหมู่ที่ ๔ ในพื้นที่นา ของคุณตา
"บุญอยู่ บุญทัน" จากร่องรอยที่พบ สัณนิษฐานว่า น่าจะเป็น พระธาตุในรูปแบบของเจดีย์ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ซึ่งคนในอดีตได้ก่อสร้างขึ้นตามความ เชื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และ จากการสังเกตุรอบๆบริเวณ
เป็นลักษณะ ดินโพนที่มีขนาดใหญ่ และยังคงมีแต่ก้อนอิฐก้อนหินให้เห็นเป็นร่องรอยของ เจดีย์อย่างสวยงามมาก่อน
เรื่องราวจากชาวบ้านของเจดีย์ ทั้ง ๖ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังเสมอว่า “บางคืน แสงประหลาด มีลักษณะเป็นดวงไฟ
สีรุ้ง พุ่งออกจากพระธาตุเจดีย์วัดไผ่ดำ แล้วลอยไปยังอีกพระธาตุเจดีย์อื่นๆ ที่ ตั้งอยู่ในบริเวณทองเอน ” ซึ่งเรื่องนี้
เป็น ที่ยอมรับภายในกลุ่มชาวบ้านที่เห็น และ อยู่บริเวณบ้านใกล้เคียงจนถือว่าเป็นเรื่อง ธรรมดา ที่ความศักดิ์สิทธิ์
ของพระธาตุ จะปรากฏให้เห็น แล้วแต่บุญบารมีของแต่ละคน จากหลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับเจดีย์

ทำให้สันนิษฐานได้ว่า มีคนอาศัยอยู่ใน ถิ่นนี้ก่อนแล้ว ก่อนที่จะมีชนชาวลาวแง้ว อพยพเข้ามาอาศัย
ในปัจจุบัน แต่ไม่ทราบ ว่า เป็นคนจากกลุ่มไหนมาตั้งรกรากก่อน