ผ้าป่าผีตาย
4 สิงหาคม 2560

 

ผ้าป่าผีตาย"
ในสมัยเมื่อประมาณร้อยกว่าปีก่อน ในภาคกลางของประเทศไทย
มีการทำบุญผ้าป่าชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างจะพิเรนทร์อยู่ซักหน่อย 
เรียกว่า "ผ้าป่าผีตาย"
สมัยก่อนเวลาคนตายบก็จะตั้งเอาศพไว้ที่บ้าน 
แล้วนิมนต์พระมาสวด การจะขนศพไปวัดบางครั้งลำบากมาก 
เลยใช้วิธีให้พระมาสวดศพให้ที่บ้านในเวลากลางคืน
ในสมัยนั้นถ้ามีข่าวว่าบ้านไหนมีคนตาย
พระเณรเป็นต้องเสียวสันหลังเพราะกลัวจะถูกนิมนต์
ไปทำบุญกลางดึกแบบนี้ ตกดึกทีแล้วมีคนมาเคาะกุฏิเรียกนิมนต์ที
ก็แทบจะลมจับแล้ว คิดดูกว่าที่จะเดินทางไปนิมนต์ถึงวัดมันก็ดึกโข
ไหนจะต้องเสียเวลาเดินทางไปบ้านที่ศพตั้งไว้อีก
มันก็ยึ่งดึกเข้าไปใหญ่ ยิ่งน่ากลัวเข้าไปอีก
การเล่นผ้าป่าผีตายนั้นเค้าจะทำเป็นซุ้มคล้ายๆเขาวงกต
ระยะช่องพอให้เดินได้คนเดียว ทำทางคดเคี้ยววกวนพอให้งง 
ส่วนทางเดินจะเป็นไม้กระดานมาปูๆพอให้เดินได้
ส่วนศพนั้นเขาจะเอานอนราบแล้วมัดไว้กับกระดานแผ่นหนึ่ง
ทำคล้ายๆเป็นกระดานหก ถ้าเดินมาเหยียบกระดานอีกฝั่งศพก็จะเด้งขึ้นมา 
แล้วเอาผ้าป่าวางไว้ที่แขนศพในท่าพนมมือ 
ประหนึ่งว่าศพทำท่ายกผ้าถวาย 
พอพระมาถึงก็จะนิมนต์ให้เดินเข้าไปในซุ้มเพียงลำพัง 
เสียงหรีดหริ่งเรไรผสมเสียงหมาหอนตอนดึกๆนั้น
มันช่างบาดหัวใจซะเหลือเกิน 
ลองจินตนาการบรรยากาศกลางคืนแถวบ้านนอกในสมัยก่อน
มีแต่ทุ่งนาโล่งๆ บ้านแต่ละหลังก็ปลูกห่างๆกันไป 
ไฟฟ้านี่ไม่ต้องพูดถึง พระก็ต้องเดินเข้าไปเรื่อยๆ 
มืดก็มืดทางออกอยู่ตรงไหนก็สุดจะคาดเดา 
แต่ก็ต้องเดินไปจนกว่าจะสุดทาง 
พอไปเหยียบกระดานหกแล้วศพเด้งขึ้นมาต่อหน้าก็
คิดเอาเองแล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น 
ถ้าเป็นศพที่เพิ่งตายก็ยังพอทำเนา 
แต่ถ้าเป็นศพที่ตายมาหลายวันนี่ก็เหลือจะรับเพราะสมัยนั้น
ไม่มีหรอกไอ้ยาอาบศพที่ทำให้ศพอยู่ได้นานๆ 
อย่างดีก็แค่น้ำมันก๊าดกรอกปากศพกันกลิ่นเน่าแค่นั้น 
พระที่แก่พรรษาหน่อยก็พอจะครองสติกันได้ 
แต่ถ้าเป็นพระหนุ่มๆบวชใหม่ๆนี่ก็มีลมจับให้เห็นกันบ่อยๆ
การละเล่นพิเรนทร์แบบนี้ตามบันทึกเก่าๆตามวัดต่างจังหวัด
คาดว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัย ร.4 
จนมาเสื่อมความนิยมก็น่าจะสมัย ร.6 
เพราะเป็นการละเล่นที่ออกจะเลยเถิดเกินไป 
ปัจจุบันได้ประยุกต์การแห่ผ้าป่าโดยใช้หุ่นผีที่สร้างขึ้นแทนการใช้ศพจริง
และจังจังหวัดสิงห์บุรี ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง ในเขตตำบลบางมัญ 
Cr.เรื่องเล่าของครู เหม เวชกร 
และ หนังสือเล่าเรื่องสยาม

/data/content/204/cms/acdjmqvxy357.jpg

 

ผ้าป่าผีตาย"

        ในสมัยเมื่อประมาณร้อยกว่าปีก่อน ในภาคกลางของประเทศไทยมีการทำบุญผ้าป่าชนิดหนึ่ง ที่ค่อน
ข้างจะพิเรนทร์อยู่ซักหน่อย เรียกว่า "ผ้าป่าผีตาย"

        สมัยก่อนเวลาคนตายบก็จะตั้งเอาศพไว้ที่บ้าน แล้วนิมนต์พระมาสวด การจะขนศพไปวัด บางครั้ง
ลำบากมาก เลยใช้วิธีให้พระมาสวดศพให้ที่บ้านในเวลากลางคืน ในสมัยนั้นถ้ามีข่าวว่าบ้านไหนมีคนตาย
พระเณรเป็นต้องเสียวสันหลัง เพราะกลัวจะถูกนิมนต์ไปทำบุญกลางดึกแบบนี้
         ตกดึกทีแล้วมีคนมาเคาะกุฏิเรียกนิมนต์ทีก็แทบจะลมจับแล้ว คิดดู กว่าที่จะเดินทางไปนิมนต์
ถึงวัดมันก็ดึกโขไหนจะต้องเสียเวลาเดินทางไปบ้านที่ศพตั้งไว้อีกมันก็ยึ่งดึกเข้าไปใหญ่ ยิ่งน่ากลัวเข้า
ไปอีก การเล่นผ้าป่าผีตายนั้น เค้าจะทำเป็นซุ้มคล้ายๆ เขาวงกต ระยะช่องพอให้เดินได้คนเดียว
ทำทางคดเคี้ยววกวนพอให้งง
         ส่วนทางเดินจะเป็นไม้กระดานมาปูๆพอให้เดินได้ ส่วนศพนั้นเขาจะเอานอนราบแล้วมัดไว้
กับกระดานแผ่นหนึ่งทำคล้ายๆเป็นกระดานหก ถ้าเดินมาเหยียบกระดานอีกฝั่งศพก็จะเด้งขึ้นมาแล้ว
เอาผ้าป่าวางไว้ที่แขนศพในท่าพนมมือ ประหนึ่งว่าศพทำท่ายกผ้าถวาย
         พอพระมาถึงก็จะนิมนต์ให้เดินเข้าไปในซุ้มเพียงลำพัง เสียงหรีดหริ่งเรไรผสมเสียงหมาหอน
ตอนดึกๆ นั้น มันช่างบาดหัวใจซะเหลือเกิน ลองจินตนาการบรรยากาศกลางคืนแถวบ้านนอกในสมัยก่อน
มีแต่ทุ่งนาโล่งๆ บ้านแต่ละหลังก็ปลูกห่างๆกันไป ไฟฟ้านี่ไม่ต้องพูดถึง พระก็ต้องเดินเข้าไปเรื่อยๆ มืดก็มืด
ทางออกอยู่ตรงไหนก็สุดจะคาดเดา แต่ก็ต้องเดินไปจนกว่าจะสุดทาง พอไปเหยียบกระดานหกแล้วศพ
เด้งขึ้นมาต่อหน้า ก็คิดเอาเองแล้วกันว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเป็นศพที่เพิ่งตายก็ยังพอทำเนา
         แต่ถ้าเป็นศพที่ตายมาหลายวันนี่ก็เหลือจะรับเพราะสมัยนั้น ไม่มีหรอกไอ้ยาอาบศพที่ทำให้ศพอยู่
ได้นานๆ อย่างดีก็แค่น้ำมันก๊าดกรอกปากศพกันกลิ่นเน่าแค่นั้น พระที่แก่พรรษาหน่อยก็พอจะครองสติกันได้
แต่ถ้าเป็นพระหนุ่มๆบวชใหม่ๆนี่ก็มีลมจับให้เห็นกันบ่อยๆ การละเล่นพิเรนทร์แบบนี้ตามบันทึกเก่าๆตามวัด
ต่างจังหวัดคาดว่าน่าจะมีมาตั้งแต่สมัย ร.๔ จนมาเสื่อมความนิยมก็น่าจะสมัย ร.๖
        เพราะเป็นการละเล่นที่ออกจะเลยเถิดเกินไป ปัจจุบันได้ประยุกต์การแห่ผ้าป่า โดยใช้หุ่นผีที่
สร้างขึ้นแทนการใช้ศพจริงและจังจังหวัดสิงห์บุรี ก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง ในเขตตำบลบางมัญ 

เฟส สิงห์บุรีทันข่าว / Cr.เรื่องเล่าของครู เหม เวชกร
และ หนังสือเล่าเรื่องสยาม