“ขุนสรรค์”หัวหน้ากลุ่ม “บ้านบางระจัน”
5 กรกฎาคม 2560

/data/content/131/cms/cgikpsxz2367.jpg

              ก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒ มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งที่รวบรวมไพร่พล หาญกล้าลุกขึ้นต่อต้าน
กองทัพพม่า ด้วยความรักชาติและแผ่นดินเกิดที่เราท่านรู้จักกันดีในชื่อ “ชาวบ้านบางระจัน”  โดยมี
“ขุนสรรค์” เป็นหัวหน้ากลุ่ม
“บ้านบางระจัน”

    “ขุนสรรค์” เป็นชาวเมืองสรรคบุรี เดิมมีตำแหน่งเป็นกำนันอยู่ในตำบลหนึ่ง ในเมืองสรรคบุรีเป็น
ผู้มีฝีมือสูงในการใช้ดาบ และมีความสามารถในการยิงปืนที่แม่นยำราวจับวาง เป็นคนกล้าหาญยอม
สละชีวิตเพื่อต่อสู้กับข้าศึก
 จนได้รับการยกให้เป็นหัวหน้าคนไทยของค่ายบางระจัน ในการต่อสู้กับ
พม่าในสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒

     ยืมความจากหนังสือ “ไทยรบพม่า” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
 

    “ชาวบ้านรวบรวมชายฉกรรจ์ไว้ได้ ๔๐๐ คน มีหัวหน้าชื่อ ขุนสรรค์ นายพันเรืองเป็นกำนัน นาย
ทองเหม็น นายจัน 
นายเขี้ยว นายทอง แสงใหญ่ ช่วยกันตั้งค่ายขึ้น ได้นิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติ 
วัดเขาบางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้รู้วิชาอาคม มาเป็นขวัญและกำลัง
ใจ ซึ่ง
หลักฐานยังปรากฏอยู่ให้เห็นคือ ซากโบสถ์วิหาร และ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ยามชาวบ้านบางระจัน
จะออกรบ
พระอาจารย์ธรรมโชติ จะให้ทุกคนลงอาบน้ำในสระนี้ ซึ่งถือว่า เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และ
มหัศจรรย์ปรากฏว่า
ชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้พม่าเอาชนะได้ถึง ๗ ครั้ง ๗ หน จนพม่า
หวั่นไหวเกรงกลัวฝีมือนไทยในการรบพุ่งของชาวบ้านบางระจัน”


ชาวบ้านบางระจันสามารถต่อสู้ชนะพม่าได้ถึง ๗ ครั้ง

     เนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่ามีความหนักใจมากที่คนไทยเพียง ๔๐๐ คน ชนะพม่าผู้ที่มี
อาวุธและกำลังพลที่เหนือกว่าหลายเท่าจึงได้เปลี่ยนกลศึกใช้การตั้งรับแล้วใช้ปืนใหญ่ระดม
ยิงชาวบ้านค่ายบางระจันจนล้มตายเป็นจำนวนมาก

     ชาวบ้านบางระจันขอปืนใหญ่จากกรุงศรีอยุธยาแต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเมืองหลวง
จึงหล่อปืนใหญ่ขึ้นใช้เองแต่ก็ไม่เป็นผลผู้นำชาวบ้านระดับหัวหน้าออกรบ ก็ถูกพม่าฆ่าตาย ไปที
ละคนสองคนเหลือเพียง“ขุนสรรค์” ที่ยังยืนหยัดต่อสู้กับอริราชศัตรูอย่างพม่าโดยไม่เคยหวั่นไหว
ถึงแม้รู้ว่าไม่มีทางเอาชนะพม่าได้ ท่านประกาศขอสู้ตาย จนวาระสุดท้ายเพื่อชาติไทยและ
แผ่นดินเกิด
     ได้นำชาวบ้านบางระจันที่เหลืออยู่ปีนค่ายพม่าบุกเข้าไปถึงภายในค่ายจนตกอยู่ในวงล้อมที่
แน่นหนาและถูกพม่ารุมฆ่าตายในที่สุด
     เมื่อสิ้น “ขุนสรรค์” ต่อมาไม่นานค่ายบางระจัน ก็เสียแก่พม่า เมื่อเดือน ๗ ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๐๙

     จากความกล้าหาญ ยอมเสียสละชีวิตต่อสู้กับข้าศึกเพื่อชาติบ้านเมืองของ “ขุนสรรค์” ชาวไทย
และชาวชัยนาทจึงยกย่องเทิดทูนว่า “ขุนสรรค์” เป็น “วีรบุรุษแห่งลุ่มน้ำน้อย”  และต่อมาชาวชัยนาท
ได้ร่วมกันสละทรัพย์เพื่อสร้างอนุสาวรีย์ “ขุนสรรค์” ขึ้นเมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๕ และอัญเชิญ
มาประดิษฐานไว้ ณ หน้าที่ว่าการอำเภอสรรคบุรี และ มีพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณ “ขุนสรรค์ วีรบุรุษ
แห่งลุ่มน้ำน้อย” ใน วันที่ ๑๙ มกราคม ซึ่งได้กระทำสืบทอดกันมาทุกปี ณ บริเวณหน้าที่ว่าการ
อำเภอสรรคบุรี ที่ตั้งปัจจุบัน

     ในปี ๒๕๕๖ จังหวัดชัยนาท นายจำลอง โพธิ์สุข ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้กำหนดการ
จัดงานขึ้นในวันที่ ๑๘-๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยในวันที่ ๑๙ มกราคมพ่อเมืองชัยนาทจะเป็น
ประธานในการบวงสรวง ทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ภายในงานพบกับการออกร้านจำหน่ายสินค้า
โอท็อป เทศกาลอาหารอร่อย และกิจกรรมขบวนแห่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ อ.สรรคบุรี
มาตุภูมิถิ่นกำเนิดของ “ขุนสรรค์” เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้เป็นวีรบุรุษของชาวชัยนาท
และชาวไทย   “ด้วยความสำนึกในพระคุณ ของบรรพชนอย่างมิเคยสร่างซา”

 

ชูเดช สีหะวงษ์
ที่มา..http://www.naewna.com