แม่ครัวหัวป่าก์ แห่งเมืองสิงห์
5 กรกฎาคม 2560

/data/content/129/cms/dfjmopxyz168.jpg

 

ที่มาของ “แม่ครัวหัวป่า” สันนิษฐานกันว่า เมื่อปี ร.ศ.๑๒๕

       ซึ่งตรงกับ พ.ศ.๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จ
ประพาสต้นเมืองสิงห์บุรี และได้เสวยพระกระยาหาร ที่ชาวบ้านตำบลหัวป่า อำเภอพรหมบุรี
นำมาถวาย ซึ่งพระองค์ได้ตรัสชมว่า เป็นอาหารที่มีรสชาติดีเยี่ยม จึงพระราชทานชื่อ
คณะแม่ครัวว่า “แม่ครัวหัวป่า” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “แม่ครัวหัวป่าก์” ที่เป็น
“ตำราอาหาร”เล่มแรกของไทย

      ท่านผู้หญิงเปลี่ยนภาสกรวงศ์ ภรรยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ได้เขียนตำราอาหารเล่มแรกของไทย เมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๑-๒๔๕๒ โดยตั้งชื่อหนังสือว่า “แม่ครัวหัวป่าก์”
มีจำนวน ๕ เล่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นหนังสือที่หายาก  ซึ่งมาถึงตรงนี้ ก็สามารถอนุมานได้ว่า 
“แม่ครัว (ตำบล) หัวป่า” กับ “แม่ครัวหัวป่าก์” ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงแต่อย่างใด
       ทำไม “หัวป่าก์” ที่หมายถึงตำราอาหาร จึงมี “ก์” คำว่า “ป่าก์” มาจากคำว่า “ปากะ”
ในภาษาบาลี ที่แปลว่าอาหารการกิน

(อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติให้ใช้เหลือเพียง “หัวป่า” โดยตัด “ก์” ทิ้งไป)
จากเฟส สิงห์บุรีพลัดถิ่น แอดมินตัวกลม
/data/content/129/cms/adjmopvwz367.jpg
อีกคำบอกเล่า จากการสัมภาษณ์ของ นักหนังสือพิมพ์ www.manager.co.th 
ในคอลัมภ์ เปิดตำนาน “แม่ครัวหัวป่า” แห่งเมืองสิงห์
                     
                          "จากคำบอกเล่าของของอาจารย์บรรหาร" 

       “บริเวณนี้เป็นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นเขตตัวเมืองพรหมบุรี ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรีคู่
กับอินทรบุรี สถานที่ตั้งเมืองพรหมบุรีจริงๆ เลยจากที่วัดชะลอนตรงนี้ไปประมาณ 
๑ กิโลเมตร เป็นตัวเมือง
รัชกาลที่ ๕ ทรงบันทึกเอาไว้ว่า เสด็จฯมาถึงบ้านหมื่นหาญ คือตลาด
ปากกวางปัจจุบัน”
 
         พรหมบุรี ในอดีตนั้น หากจะลองสืบสาวตำนานเก่าไปกว่านั้นก็จะเป็นเรื่องเล่าที่ว่า เมืองนี้สร้าง
โดยพระเจ้าพรหมมหาราช
ซึ่งต่อมาพระโอรสของพระองค์คือพระเจ้าไกรสรราช ได้สร้างเมืองสิงห์บุรีขึ้น
พรหมบุรี ยังปรากฎในพงศาวดารว่า เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง 
แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเรียกว่า
“พรหมนคร” เป็นเมืองสำหรับ 
หลานหลวง ปกครอง หรือแปลให้เข้าใจง่ายว่า ผู้ปกครองย่อมเป็นเชื้อ
พระวงศ์ของเจ้ากรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
        แต่ไม่ถึงกับเป็นพระราชโอรสหรือพระวงศ์ใกล้ชิดกษัตริย์แบบเมืองลูกหลวง ช่วงที่พระพุทธเจ้า
หลวงเสด็จฯนั้น จังหวัดสิงห์บุรียังไม่เกิด แต่ก็เป็นพระองค์นี่เอง ที่มีรับสั่งให้ยุบเมือง
พรหมนครลงในภายหลัง
ไปรวมกับเมืองสิงห์บุรี

      เรื่องเล่าของแม่ครัวหัวป่าไม่ได้จบแค่ที่บ้านหัวป่าเท่านั้น หลังการเสวยครั้งนั้นแล้ว นอกจากการ
ที่คำว่า "แม่ครัวหัวป่าติดพระโอษฐ์" กลับมาบางกอก ยังมีการบันทึกว่า ภายหลังยังทรงให้
คุณหญิงโหมดจัด
อำแดงเกลี้ยง อำแดงอึ่ง อำแดงหงส์ และอำแดงสิน มาเป็นแม่ครัวในวังหลวง
อีกด้วย “ตำราแม่ครัวหัวป่าก์”
ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ซึ่งเขียนคำว่า
 “หัวป่า” เป็น“หัวป่าก์”  หนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ นับถือ
กันว่าเป็นตำรากับข้าวที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็น
ครั้งแรกและเก่าที่สุด คือ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ร.ศ.๑๒๗
ตรงกับ พ.ศ.๒๔๕๑ แต่งโดยท่านผู้หญิง
เปลี่ยน ภาศกรวงศ์ ภรรยาของเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีการเขียนตำรากับข้าวกันเป็น
กิจจะลักษณะเลย

       ดังนั้น “แม่ครัวหัวป่าก์” ชุดนี้จึงนับว่า เป็นตำรากับข้าวเล่มแรกของคนไทยที่ได้มีการจดบันทึกขึ้น
ไว้…” (ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ผู้จัดการสำนักพิมพ์ต้นฉบับใน “ถ้อยแถลงของผู้จัดพิมพ์”
ฉบับที่ตีพิมพ์ปี ๒๕๔๕ )

      มีข้อน่าสังเกตคือ กรุงรัตนโกสินทร์ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๓๒๕ และ หากจะนับรัตนโกสินทร์ศก
ก็ต้องนับในปีนั้นเป็นปีที่ ๑ ดังนั้นรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๗ หากเอา ๒๓๒๕ บวกกับ ๑๒๗ แล้ว จึงควรจะ
เป็นปี พ.ศ.๒๔๕๒ มากกว่า ที่พูดถึงเรื่องพุทธศักราชนี้ ก็เพราะเราเกิดคำถามขึ้นมาว่า ระหว่าง
“แม่ครัวหัวป่า”
ของรัชกาลที่ ๕ กับ “แม่ครัวหัวป่าก์” ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ท่านใดใช้ถูกต้องหรือ
นำมาใช้ก่อนกันแน่ ซึ่ง
จากข้อผิดพลาดข้างต้นของการคำนวณปีปฏิทินของผู้จัดพิมพ์ ประกอบกับ
เหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้า
หลวงเสด็จประพาสต้นที่บ้านจวนหัวป่าเมืองพรหมบุรีในปี พ.ศ.๒๔๕๒ 
คำว่า “แม่ครัวหัวป่า” ที่ชาวบ้าน
ยืนยันว่า
พระราชทานโดยไม่มีตัว ก การันต์ ซึ่งค่อนข้างเชื่อถือได้ เพราะปรากฏในหมายเหตุ
รับเสด็จของเมือง
     ประกอบกับหากลองไปเปิดพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๕ และปีพ.ศ.๒๕๔๒
เราจะพบการให้ความหมายว่า “หัวป่า  น. คนทำอาหาร” และ “หัวป่า น. คนทำอาหาร
คนโบราณใช้ ก์”
อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้รายการ “เรียงร้อยถ้อยไทย” ตอน หัวป่าก์ทางช่อง ๓ ได้
บอกว่า “แม่ครัวหัวป่าก์ คือ
คนทำอาหาร ที่มีรสชาติดีจนคนกินถูกใจ มาจากชื่อหนังสือ “แม่ครัวหัวป่าก์” 
ซึ่งเป็นตำราทำอาหาร
ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ผู้ซึ่งมีฝีมือเลิศในการทำอาหารใน
สมัยรัชกาลที่ ๕ และคำว่า ป่าก์
ก็มาจากภาษาบาลีว่า ปากะ หมายถึงการทำอาหารการกิน”

     ในหนังสือของท่านผู้หญิงเองก็ยืนยันไว้ว่า “วิธีทำของรับประทานที่เข้าใจโดยสามัญว่าการหุงต้มทำ
กับข้าวของกิน ที่ฉันให้ชื่อตำรานี้ว่าแม่ครัวหัวป่าก์  คือ ปากะศิลปะคฤหะวิทยา ก็เปน
สิ่งที่ว่าชี้ความสว่างใน
ทางเจริญของชาติมนุษย์ ที่พ้นจากจารีตอันเปนป่าร้ายให้ถึงซึ่งความเปน
สิทธิชาติที่มีจารีตความประพฤติ
อันเรียบร้อยหมดจดดีขึ้น…”

      ที่ราชบัณฑิตยสถานบอกคนโบราณใช้ ก์ จึงน่าจะมาจากตำราของคุณหญิงเปลี่ยน ขณะที่แม่ครัวหัวป่า
ที่หมายถึงคำติดพระโอษฐ์ในรัชกาลที่ ๕ จึงน่าจะเป็นหัวป่า ที่ไม่มี ก การันต์ แต่
อย่างใด ทำให้ได้ข้อสรุปบาง
อย่างว่า คำที่ติดปากคนไทยว่า “แม่ครัวหัวป่า” ซึ่งหมายถึงคนทำ
อาหารอร่อยซึ่งมาจากพระโอษฐ์ของรัชกาล
ที่ ๕ นั้นไม่น่าจะมี ก การันต์แต่อย่างใดแบบคำที่
คุณหญิงโหมดใช้ แต่ถ้าจะเขียน ก การันต์ไปด้วยก็ไม่น่า
จะเป็นข้อผิดพลาดอะไร แล้วแต่จะเลือก
ใช้กันมากกว่า แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางภาษาสืบค้นกัน
ต่อไป ไม่แน่คุณหญิงอาจจะ
นำพระดำรัสของรัชกาลที่ ๕ มาผสมกับภาษาบาลีจนเกิดคำนี้ก็ได้…

ขอบคุณภาพ / www.manager.co.th
ในคอลัมภ์ เปิดตำนาน “แม่ครัวหัวป่า” แห่งเมืองสิงห์