ปลาช่อนแม่ลาหายไปไหน ?
19 มิถุนายน 2560

          ลำน้ำแม่ลาเป็นสายน้ำแห่งประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมานานเรื่อง
ปลาช่อนที่จับจากลำน้ำแม่ลามีรสชาติอร่อยกว่าปลาช่อนจากแหล่งน้ำอื่น 
ความเชื่อนี้ไม่ใช่เป็นเพียงตำนานเล่าขานแต่เป็นความจริงที่ได้พิสูจน์ทาง
วิทยาศาสตร์แล้ว

         เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ โดยกรมประมงนักวิชาการได้นำปลาช่อนจากลำ
แม่ลามาวิจัยด้านโภชนาการและทดสอบทางรสชาติพบว่าปลาช่อนแม่ลา
มีไขมันในกล้ามเนื้อมากกว่าปลาช่อนจากแหล่งน้ำอื่นและปลาช่อนใน
บ่อเลี้ยงถึง ๑ เท่าตัว

          ปลาช่อนแม่ลา มีรสชาติอร่อยเนื้อหวานนุ่มกว่าปลาช่อนที่อื่น
เนื่องจากลำแม่ลาจ.สิงห์บุรี ซึ่งมีระยะทางยาวประมาณ ๑๘ กิโลเมตร
กว้างประมาณ ๗๐ เมตร มีแร่ธาตุไม่เหมือนแหล่งน้ำอื่นประกอบด้วย
สองฝั่งลำน้ำเป็นพื้นที่เกษตรกรรมในฤดูน้ำหลาก แร่ธาตุต่างๆบนพื้น
ดินซึ่งมีทั้งซากพืชและมูลสัตว์ถูกชะล้างลงสู่ลำแม่ลา พื้นท้องน้ำจึง
เต็มไปด้วยแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง
หอย ปู ปลา โดยเฉพาะหอยต่างๆมีมาก ลูกสัตว์น้ำเหล่านี้ก็เป็นอาหาร
ของปลาช่อนเช่นกัน 
         อย่างไรก็ตามการวิจัยพบว่าคุณค่าทางโภชนาการด้าน
โปรตีนระหว่างปลาช่อนแม่ลาและปลาช่อนจากแหล่งน้ำอื่นเท่ากัน  
อนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมและการเติบใหญ่ของสังคม
ทำให้ปลาช่อนในลำแม่ลาลดปริมาณลงมาก การอนุรักษ์ และ พื้นฟู
เพื่อให้มีปลาช่อนที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์คงอยู่คู่สิงห์บุรี 
จึงเป็นสิ่งสำคัญ


ข้อมูลบางส่วน – กรมประมง    ภาพจาก siamfishing