ประเพณีกำฟ้า ไทยพวน วัดกุฎีทอง
26 กรกฎาคม 2560

/data/content/163/cms/cghjmsvw2568.jpg

          ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ที่บ้านบางน้ำเชี่ยวและ
บ้านดอนคา อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดา
ผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓
เป็นวันสุกดิบ
         โดยหนุ่ม-สาว จะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำ
บุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้น พิธี จะมีในตอนเย็น ชาวบ้านจะนำข้าวสารเหนียว ไข่ น้ำตาล ไป
เข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์ 
          กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำ
ขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึงเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียม
ไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕
วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ

          เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง  โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง
ถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้า เป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า


จากข่าวทองเอน ประเพณีกำฟ้าไทยพวน

วัน ๒๙ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๐๐ น. 
คุณปราณี บัวพนัสร่วมกับกลุ่มลาวแง้วทองเอน เข้า
ร่วมประเพณีกำฟ้าพาแลง ที่วัดกุฏีทอง อำเภอพรหมบุรี 
จังหวัดสิงห์บุรี 
โดยมีนายพศิน โกมลวิชญ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี 
เป็นประธานตีฆ้องเปิดงานบุญ ซึ่งงานนี้เป็นประเพณี
กำฟ้าของชาวไทยพวน ประจำปี ๒๕๖๐ และมี นาย
บุญลือ ชูชาติ นายอำเภอพรหมบุรี กล่าวรายงานประ
เพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน 
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 
ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ 
ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวน ที่อาศัยกระจาย
ไปอยู่ในหลายภูมิภาค เช่น ต.ไผ่หลิ่ว อ.ดอนพุด 
จ.สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา 
นครนายก ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย แพร่ สุโขทัย 
อุตรดิตถ์ และพิจิตร เป็นต้น
แม้การรวมตัวในแต่ละถิ่นไม่มากนัก แต่ทุกแห่งต่างก็
สามารถรักษาวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียมดั้งเดิมไว้ได้
อย่างดี
ศัพท์ว่า กำ หมายถึง การสักการบูชา (ภาษาพวน)
ศัพท์ว่า กำฟ้า หมายถึง การสักการบูชาฟ้า
ประเพณีโบราณนี้โดยปกติ จะจัดวันขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๓ 
เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า๑ วัน คือวันขึ้น ๒ ค่ำเดือน 
๓ จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ 
ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน 
ส่วนของหวานก็จะมีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอก
ข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่ ทำโดยนำข้าว
เหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ 
อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลย ก็ได้ 
เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจน
สุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกิน
ในหมู่ญาติพี่น้อง 
พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการ
ใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการ
ละเล่นไปจน ถึงกลางคืน การละเล่นที่นยมได้แก่ 
ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า นางด้ง ฯลฯ
ขอบคุณข้อมูล/ภาพ วีกิพีเดีย,สำนักงานวัฒนธรรม 
จ.สิงห์บุรี,คุณบุญสม โสภา

/data/content/163/cms/adghmnwy1789.jpg

จากข่าวทองเอน ประเพณีกำฟ้าไทยพวน

วัน ๒๙ มกราคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๐๐ น. 

     คุณปราณี บัวพนัสร่วมกับกลุ่มลาวแง้วทองเอน เข้าร่วมประเพณีกำฟ้าพาแลง ที่วัดกุฏีทอง
อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี 

     โดยมีนายพศิน โกมลวิชญ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี เป็นประธานตีฆ้องเปิดงานบุญ ซึ่ง
งานนี้เป็นประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน ประจำปี ๒๕๖๐ และมี นายบุญลือ ชูชาติ นายอำเภอ
พรหมบุรี กล่าวรายงานประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน อำเภอพรหมบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี 

    ประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวน
ที่อาศัยกระจายไปอยู่ในหลายภูมิภาค เช่น ต.ไผ่หลิ่ว อ.ดอนพุด จ.สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี
ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิจิตร เป็นต้น

    แม้การรวมตัวในแต่ละถิ่นไม่มากนัก แต่ทุกแห่งต่างก็สามารถรักษาวิถีชีวิต และขนบธรรมเนียม
ดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี

    ความหมายของศัพท์ว่า "กำฟ้า"
       ศัพท์ว่า กำ หมายถึง การสักการบูชา (ภาษาพวน)
       ศัพท์ว่า กำฟ้า หมายถึง การสักการบูชาฟ้า

    ประเพณีโบราณนี้โดยปกติ จะจัดวันขึ้น ๓ ค่ำเดือน ๓ เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า๑ วัน คือวัน
ขึ้น ๒ ค่ำเดือน ๓ จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้น หรือ ขนมจีน พร้อมทั้งน้ำยา และน้ำพริก
ไว้เลี้ยงดูกัน 

    ส่วนของหวานก็จะมีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อน มีการทำข้าวจี่ ข้าวจี่
ทำโดยนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ อาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็ม
หรือไม่ใส่ใส้เลย ก็ได้ เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำ
ไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง 

    พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอน
บ่ายจะมีการละเล่นไปจน ถึงกลางคืน การละเล่นที่นยมได้แก่ ช่วงชัย มอญซ่อนผ้า นางด้ง ฯลฯ

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ วีกิพีเดีย,สำนักงานวัฒนธรรม 
จ.สิงห์บุรี,คุณบุญสม โสภา

ภาพประเพณีกำฟ้า

/data/content/163/cms/bginu2345678.jpg

/data/content/163/cms/abdgiknopsy9.jpg

/data/content/163/cms/adeghjnopy67.jpg