ประวัติอำเภอค่ายบางระจัน
30 กรกฎาคม 2560

/data/content/186/cms/dgkmqrsuvz46.jpg

ประวัติศาสตร์อำเภอค่ายบางระจัน
       อำเภอค่ายบางระจันเดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอบางระจัน กำเนิดขึ้นมาเนื่อง
จากเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าการบูรณะค่ายบางระจันอัน
เป็นสถานที่ชาวบ้านบางระจันได้สร้างวีรกรรมปรากฏ จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยตอน
ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘ เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นวีรกรรม ซึ่งแสดงถึงความ
สามัคคี กล้าหาญ อดทน เสียสละ และเหนือสิ่งอื่นใด คือความรักชาติอันยิ่งใหญ่สมควรเป็น
ตัวอย่างอันดีงาม แก่อนุชนไทยรุ่นหลังที่จะจดจำไปชั่วกัลปวสาน 
      จึงมอบให้กระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันพิจารณาฟื้นฟูบูรณะค่าย
บางระจัน ซึ่งขณะนั้นคงมีเหลือแต่ซากเจดีย์ และวิหารเล็กๆ ที่ปรักหักพังกับเนินดินที่ใช้เป็น 
แนวกำบังต่อสู้พม่าเหลืออยู่เป็นบางตอนเท่านั้น 
      ผลการประชุมของคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจัน ครั้งที่ ๑/๒๕๐๙ เมื่อวันที่ ๑๙ 
มกราคม  พ.ศ.๒๕๐๙ มีข้อหนึ่งว่า “การบูรณะท้องที่ให้เจริญก็เช่นเดียวกัน มอบให้กระทรวง
มหาดไทยพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดทำ เรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งกิ่ง
อำเภอค่ายบางระจันขึ้นที่ตำบลบางระจัน เพื่อให้ท้องที่นี้เกิดความเจริญเป็นปึกแผ่นด้วย” 
       ในที่สุดกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ แบ่งท้องที่
อำเภอบางระจันตั้งเป็นกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางระจัน 
จังหวัดสิงห์บุรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ เป็นต้นไป 
       และต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๙
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอค่ายบางระจันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอ
ข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ       ติดต่อกับอำเภอบางระจัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสิงห์บุรีและอำเภอท่าช้าง
ทิศใต้          ติดต่อกับอำเภอท่าช้าง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอค่ายบางระจันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น ๖ ตำบล ได้แก่
๑.โพทะเล (Pho Thale)
๒.บางระจัน(Bang Rachan)
๓.โพสังโฆ (Pho Sangkho)
๔.ท่าข้าม (Tha Kham)
๕.คอทราย  (Kho Sai)
๖.หนองกระทุ่ม  (Nong Krathum)

ประวัติศาสตร์อำเภอค่ายบางระจัน

       อำเภอค่ายบางระจันเดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอบางระจัน กำเนิดขึ้นมาเนื่อง
จากเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๙ คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าการบูรณะค่ายบางระจันอัน
เป็นสถานที่ชาวบ้านบางระจันได้สร้างวีรกรรมปรากฏ จารึกอยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยตอน
ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘ เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นวีรกรรม ซึ่งแสดงถึงความ
สามัคคี กล้าหาญ อดทน เสียสละ และเหนือสิ่งอื่นใด คือความรักชาติอันยิ่งใหญ่สมควรเป็น
ตัวอย่างอันดีงาม แก่อนุชนไทยรุ่นหลังที่จะจดจำไปชั่วกัลปวสาน 

      จึงมอบให้กระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันพิจารณาฟื้นฟูบูรณะค่าย
บางระจัน ซึ่งขณะนั้นคงมีเหลือแต่ซากเจดีย์ และวิหารเล็กๆ ที่ปรักหักพังกับเนินดินที่ใช้เป็น
แนวกำบังต่อสู้พม่าเหลืออยู่เป็นบางตอนเท่านั้น 

      ผลการประชุมของคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะค่ายบางระจัน ครั้งที่ ๑/๒๕๐๙ เมื่อวันที่ ๑๙
มกราคม  พ.ศ.๒๕๐๙ มีข้อหนึ่งว่า “การบูรณะท้องที่ให้เจริญก็เช่นเดียวกัน มอบให้กระทรวง
มหาดไทยพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดทำ เรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทยให้จัดตั้งกิ่ง
อำเภอค่ายบางระจันขึ้นที่ตำบลบางระจัน เพื่อให้ท้องที่นี้เกิดความเจริญเป็นปึกแผ่นด้วย” 

       ในที่สุดกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๕ แบ่งท้องที่
อำเภอบางระจันตั้งเป็นกิ่งอำเภอค่ายบางระจัน ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางระจัน
จังหวัดสิงห์บุรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ เป็นต้นไป
       และต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๙

ที่ตั้งและอาณาเขต
     อำเภอค่ายบางระจันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับ
อำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ       ติดต่อกับอำเภอบางระจัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสิงห์บุรีและอำเภอท่าช้าง
ทิศใต้          ติดต่อกับอำเภอท่าช้าง และอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวช (จังหวัดสุพรรณบุรี)

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอค่ายบางระจันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น ๖ ตำบล ได้แก่
๑.โพทะเล (Pho Thale)
๒.บางระจัน(Bang Rachan)
๓.โพสังโฆ (Pho Sangkho)
๔.ท่าข้าม (Tha Kham)
๕.คอทราย  (Kho Sai)
๖.หนองกระทุ่ม  (Nong Krathum)

เครดิตข้อมูล / วิกิพีเดีย