วัดเก้าชั่ง
26 พฤศจิกายน 2561

/data/content/469/cms/acegilqu2346.jpg

วัดเก้าชั่ง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านหม้อ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี
จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๑๘ ตารางวา
โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐ น.ส.๓ เลขที่ ๑๕๒๖๕ น.ส.๓ ก. เลขที่ ๒๐๔๒ ส.ค.๑ เลขที่ ๑๕๓

อาณาเขต
ทิศเหนือ จดที่ดินเอกชน
ทิศใต้ จดที่ดินเอกชน
ทิศตะวันออก จดคลองส่งน้ำชลประทาน
ทิศตะวันตก จดแม่น้ำเจ้าพระยา

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
อุโบสถ กว้าง ๗.๑๕ เมตร ยาว ๑๕.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๓.๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ เป็นอาคารไม้
หอสวดมนต์ กว้าง ๙.๙๕ เมตร ยาว ๒๒.๘๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
กุฏิสงฆ์ จำนวน ๖ หลัง เป็นอาคารไม้ ๖ หลัง
วิหาร กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๙
ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ เป็นอาคารไม้
ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง

นอกจากนี้ มี หอระฆัง ๑ หลัง โรงครัว ๒ หลัง กุฏิเจ้าอาวาส ๑ หลัง

ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘
พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๕ นิ้ว สร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘

วัดเก้าชั่ง ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๓๐๘ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า มาจากชื่อพระพุทธรูปสำคัญ
ที่คู่กับวัด ชื่อ หลวงพ่อเก้าชั่ง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเพชร ศิลปะอยุธยา วัสดุโลหะปิดลงรักปิดทอง
ตำนานกล่าวว่า กษัตริย์พระองค์หนึ่ง สมัยอยุธยา โปรดให้ช่างฝ่ายเหนือเป็นผู้สร้าง เมื่อนำพระพุทธ
รูปมาถวาย พระมหากษัตริย์กลับไม่ชอบ ให้กลับไปทำใหม่ ขากลับช่างคนดังกล่าวได้และพักที่หน้าวัด
พระภิกษุรูปหนึ่งได้ขอซื้อ ในราคาเก้าชั่ง และเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อเงินเก้าชั่ง"
จนเป็นที่มาของชื่อวัด

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๔ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๗.๑๕ เมตร
ยาว ๑๕.๓๐ เมตร

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการสำเริง ปญฺญสาโร